พัฒนาคุณภาพการศึกษาออนไลน์ BANGSAIY PLF-MODEL(R&D)
ท ศ พิ ธ ร า ช ธ ร ร ม ห รื อ จ ริ ย วั ต ร 10
ประการที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ ซึ่งไม่ได้จำเพาะเจาะจง สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดา ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ เพื่อเป็นไปโดยธรรม และยังประโยชน์สุข ให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
ทศพิธราชธรรม เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ราชธรรม 10ปรากฎอยู่ในพระสูตร ขุททกนิกาย ืชาดก ปรากฏพระคาถาดังนี้
ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ อกฺโกธํ อวิหิสญฺจขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.
1. ทาน (ทานํ) การให้และแบ่งปัน ให้การสนับสนุนแก่คนทำดี
2. ศีล (สีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจาและใจ
3. บริจาค ( ปริจาคํ )การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
4. ความซื่อตรง ( มทฺทวํ ) คือ การปฏิบัติโดยซื่อสัตย์ซื่อตรง สุจริตมีความจริงใจ
5. ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยนกิริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม
6. ความเพียร ( ตปํ ) คือ ความเพียร ต้องการทำกิจในหน้าที่ให้บริบูรณ์
7. ความไม่โกรธ (อกฺฺโกธํ) คือ การไม่แสดงความโกรธไม่เกรี้ยวกราดไม่วินิจฉัยความด้วยอำนาจความโกรธ
8. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียนไม่หลงอำนาจ ไม่อาฆาตเกลียดชัง
9. ความอดทน (ขันติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวงอดทนต่องานที่ตรากตรำเหนื่อยยาก
10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือเอาความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก
ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 ประการ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นหัวใจในการปกครอง ที่องค์พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง ได้ทรงเคารพและยึดเป็นแนวทางในการบริหารประเทศตลอดมา
บุคคลใดก็ตาม หากประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม 10ประการนี้ ย่อมได้รับการยกย่องเทิดทูนว่า เป็นผู้ปกครองโดยธรรม ส่งผลให้สังคมนั้นสงบสุขในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : วิกิพีเดีย
© 2023 Created by Surin yingneuk.
Powered by
You need to be a member of เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40 to add comments!
Join เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40