พัฒนาคุณภาพการศึกษาออนไลน์ BANGSAIY PLF-MODEL(R&D)
การประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21….Assessment in “The 21.st Century Learning”
การประเมินการเรียนรู้ ได้กลายเป็น “องค์ประกอบ Composition ทุกขั้นตอน” ของการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของศตวรรษที่ 21. โปรดพิจารณาดังนี้ครับ
เมื่อคุณครูออกแบบการสอน Instructional Design นั้น คุณครูต้องออกแบบสร้างสถานการณ์ หรือ Situation และบางโอกาส ก็มีสถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World ก็ใช้สถานการณ์จริงๆนั้นแหละเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ “ผู้เรียนทุกคน All Learners” ได้มีประสบการณ์ Experience ในสถานการณ์นั้นๆ คุณครูก็ “ต้องรู้ก่อนแล้ว ว่าจะประเมินผลได้อย่างไร Need to know.. “How to Evaluate them?” เป็นต้นว่า “วัดผลวิธีการเรียนรู้ Learning Approaches....วัดความสนใจ Interests และความต้องการที่จะเรียนรู้ Needs เป็นต้น..และส่วนใหญ่ คุณครูต้องการให้ผู้เรียน ได้ “เรียนรู้วิชาการ Academic learning” ก็ต้องใช้ “เนื้อหาวิชาการ Academic Content”นั้นแหละเป็น “สถานการณ์ Situation” แล้วทำเป็น “กิจกรรมการเรียนรู้ Learning Activities” เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไป “มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น Activity Participation” ได้เป็นประสบการณ์ในการสร้างองค์ความรู้ต่อไป..คุณครูก็สามารถวัดผลประเมิน ผลในการเข้าไปมีส่วนร่วมได้เช่นกัน หากกระบวนการเป็นผลดี ก็ทำการพัฒนา และหากกระบวนการบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
เมื่อคุณครูได้ทำการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นักเรียนมีการจัดการ “กระบวนการจัดกลุ่ม Process for Groupings” ทั้ง “กลุ่มคน คือเพื่อนๆ และ ของคือวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนรู้ Materials of available and desired mixture of Students.คุณครูก็ย่อมทราบแล้วว่า ท่านจะสามารถวัดผลประเมินผล ในความสามารถของการ “จัดกระบวนการ Process Management” ได้หรือไม่ เพียงไร....หากกระบวนการเป็นผลดี ก็ทำการพัฒนา และหากกระบวนการบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
เมื่อคุณครูได้ทำการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นักเรียนมี “การเชื่อมโยงความรู้ หรือสะพานสู่การเรียนรู้ Bridge หรือ Bridge to Learning นั้น คุณครูก็ย่อมรู้แล้วว่า จะสามารถวัดผลประเมินผลด้วยวิธีใด...หากกระบวนการเป็นผลดี ก็ทำการพัฒนา และหากกระบวนการบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
เมื่อคุณครูได้ “ออกแบบคำถาม Design Questions” เพื่อวัด ความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทักษะ และ ทัศนคติ Assess student Understanding of the Concepts, Skills, or Attitudes นั้น ก็เป็นเรื่อง “ง่ายๆ Simple” ที่คุณครูจะ “วัดความพยายาม มุ่งมั่นของพวกเขา They are Trying to Learn”...ถึงตรงนี้ “ขอย้ำ Repeated and Requests”ว่า ขอให้ประเมินผล “ความพยายามที่จะเรียนรู้ Trying to Learn”ของพวกเขาด้วย เพิ่มเติมจาก ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติ นั้นๆด้วย...หากกระบวนการเป็นผลดี ก็ทำการพัฒนา และหากกระบวนการบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
เมื่อคุณครู ออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นักเรียน “แสดงออก exhibit” ซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการ “สื่อสาร Communicate”สู่ผู้อื่นนั้น..ก็เป็นของง่ายที่คุณครูจะประเมิน...หากกระบวน การเป็นผลดี ก็ทำการพัฒนา และหากกระบวนการบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข
เมื่อคุณครู ได้ออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นักเรียน “ได้แสดงออก Reflections”ในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว และ “กระบวนการภายใน Internal Process” อันเกิดจากการเรียนรู้ของแต่ละคน..คุณครูก็ย่อมมีแนวทางในการในการวัดผลและ ประเมินผลอยู่แล้ว....
นี่เป็นกระบวนการ การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางของ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.หรือ C0nstructivism Approach, หรือ Learning by Doing, หรือ Learner Centered, หรือ Child Centered,ก็ม่ความหมายอย่างเดียวกัน คือ “ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง Learners Construct Knowledge for Themselves” ที่มีหลักการว่า
1.การวัดผล ประเมินผล และการเรียนรู้เป็นกระบวนการเดียวกัน
2.ผลการวัดผล ประเมินผล ต้องทำเพื่อการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในขณะนั้น และในโอกาสต่อไป
3.ผู้เรียนจะได้รับการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา ไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่มีการสอบตก หรือเรียนซ้ำชั้นแต่ประการใด
4.ศักยภาพของผู้เรียนย่อมสามารถ “แสดงออกได้ Reflections” ด้วยวิธีต่างๆที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา
5.เนื่องจาก การเรียนรูในศตวรรษที่ 21.เป็นการเรียนรู้จาก “โลกแห่งความเป็นจริง Real World” ดังนั้น จึงไม่มี “ข้อสอบแบบ Question Paper and Answer Sheet”ใดๆไปวัดศักยภาพของผู้เรียนได้..
6.การเรียนรูในศตวรรษที่ 21.ที่เป็น “ความรู้วิชาการ Academic Knowledge” ที่ใช้แผนการเรียนแบบ Learning by Doing และใช้หนังสือเรียน Textbooks ชุดเดียวกันทุกประการ จะได้ผลสัมฤทธิ์มากกว่าการเรียนดีกว่า การเรียนการสอนโดยวิธีอื่น
7.การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.จะได้ผลดีเมื่อนักเรียนได้มีเวลาเรียนเต็มที่ และคุณครูมีเวลาในการเตรียมการสอน ออกแบบการสอน และมีเวลาสอนเต็มที่ เช่นเดียวกัน...
ที่กล่าวมาทุกข้อนี้มีความสำคัญในการยกระดับการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าผู้มีอำนาจในกระทรวงศึกษาธิการยังเมินเฉยต่อความเป็นจริงที่กล่าวมาทั้ง หมดนี้ก็ไม่สามารถยกระดับการเรียนรู้ให้ทันชาติอื่นๆในอาเซียนได้..โดยเฉพาะ ข้อ 7.นั้นหัวใจ เพราะเป็นตัวจักรสำคัญ ถ้าหากยัง “มีการกินแรงกันลงมาตามลำดับ”ของกระทรวงศึกษาธิการเช่นที่เป็นอยู่นี้..ก็ น่าสมเพทเวทนาการศึกษาของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21.นี้ยิ่งนัก
สุทัศน์ เอกา..........................บอกความ
© 2023 Created by Surin yingneuk.
Powered by
You need to be a member of เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40 to add comments!
Join เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40