พัฒนาคุณภาพการศึกษาออนไลน์ BANGSAIY PLF-MODEL(R&D)
ปัจจุบันปัญหาการศึกษาของไทยกำลังประดังกันเข้ามาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก ทั้งเรื่องอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เด็กคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาไม่เป็น ติดเพื่อน จนนำไปสู่การติดยาเสพติด เกิดอาชญากร และที่กำลังระบาดหนัก คือ “คุณแม่วัยใส” หรือเด็กท้องในวัยเรียน ที่ไทยเรามีคุณแม่วัยใสมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียด้วย ทำให้เด็กเหล่านี้หลุดออกจากระบบการศึกษา และยิ่งเป็นยุคไร้พรมแดนของฐานะทางสังคม ความแตกต่างยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น คนระดับล่างๆ ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษาก็ยิ่งไม่มีที่ยืนในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนขาดพร่องหรือถึงขั้นไม่มีเลย
“ทักษะ ชีวิต” ความสามารถของบุคคลในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัวและสังคมด้วยความรู้ ความเข้าใจ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม
ทว่า การนำทักษะชีวิตมาเป็นแนวทางการในแก้ปัญหาด้วยเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อให้การดำรงชีวิตดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นสุข แน่นอน “สถานศึกษา” ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่เด็กและเยาวชนคือเป้าหมายหลัก และวิชาลูกเสือคือวิชาหนึ่งที่เป็นสะพานเชื่อมที่จะทำให้บังเกิดผลสำเร็จ เพราะวิชาลูกเสือมีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกฝนให้เด็กเป็นพลเมืองดี เป็นบุคคลที่มีเกียรติเชื่อถือได้ มีระเบียบวินัย สามารถพึ่งตนได้ ตลอดจนปลูกฝังความเป็นจิตอาสา เต็มใจที่จะช่วยเหลือชุมชน และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น นอกจากนี้ วิชาลูกเสือเป็นวิชาที่เด็กชอบเรียน สนุก ไม่ก่อให้เกิดความเครียด
สมาคม วางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนี (สวท.) และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการจัดฝึกอบรมวิชาลูกเสือ เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับครูผู้สอนวิชาลูกเสือ นำความรู้ในการเรียนวิชาชาวค่ายไปสอนเด็กนักเรียนในการดำรงชีวิต สนับสนุนให้เด็กนักเรียนฝึกการวิเคราะห์สถานการณ์และแก้ปัญหาเป็น อีกทั้งส่งเสริมให้ครูมีความตื่นตัวที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะจัดกระบวนการ เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตให้แก่เด็ก ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมทั้งเด็กที่อยู่ในการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งรวมถึง กศน. โดยได้จัดฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญขั้นความรู้ชั้นสูง เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต (R.A.T.C.) รุ่นที่ 4/2556 ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมระดับครู กศน.จำนวน 61 คน ในพื้นที่ จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เพื่อนำความรู้ในการเรียนวิชาชาวค่ายไปสอนเด็กนักเรียนในการดำรงชีวิต รู้จักการวิเคราะห์สถานการณ์และแก้ปัญหาเป็น
“ลูก เสือ กศน.สร้างคน พัฒนาสังคมได้จริงหรือ?? นี่เป็นคำถามที่หลายคนเห็นว่าการสอนวิชาลูกเสือกับนักเรียน กศน.เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะ กศน.ในสายตาคนทั่วไปจะถูกมองว่าเป็นคนที่เลวร้าย ไร้รสนิยม เป็นเด็กเหลือขอ โรงเรียนไม่ต้องการ แต่แท้จริงนั้นคนที่เข้าไปเรียน กศน.ยังมีกลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา บ้านมีฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถเข้าเรียนพร้อมเพื่อนได้ ต้องออกมาทำงานหาเงินเลี้ยงดูครอบครัวตั้งแต่เด็ก” น.ส.วราภรณ์ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือนครนายก (สลส.นย.) และอดีตผู้อำนวยการ กศน.จ.นครนายก กล่าวพร้อมกับเล่าว่า คำพูดเหล่านั้นทำให้ทาง กศน.นครนายก ต้องเน้นสอนนักเรียน กศน.ให้เป็นคนดีเพื่อลบคำสบประมาทเหล่านั้น และ กศน.มีหลักสูตรการเรียนการสอนตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในส่วนของวิชาลูกเสือ ทาง กศน. ได้นำทักษะชีวิตเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการเรียนการสอน และเน้นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักของวิชาลูกเสือ และการที่ครูได้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพการจัดการ เรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น
“จาก ที่ได้นำทักษะชีวิตเข้าไปสอนเด็กในสลัม และเด็กเร่ร่อน ซึ่งถือเป็นนักเรียน กศน. ที่ไม่ได้เข้าเรียนตามเกณฑ์เข้ารับการฝึกอบรม ก็เกิดความประทับใจและเกิดความซาบซึ้ง ฉะนั้นเชื่อได้ว่ากระบวนการลูกเสือเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างความดี เสริมคุณธรรมให้กับเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสและบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อเด็กเหล่านั้นได้รับการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่มก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าจะเป็นคนดี และนำความดีนำกิจกรรมไปใช้ในการพัฒนาสังคมและชุมชนได้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เมื่อจบออกไปก็เข้าเรียนต่อระดับ ปวส.หรือปริญญาตรี ก็จะได้ทำงานที่ดี เป็นบุคคลที่ดีในสังคมได้ ซึ่งเด็กทั้งหมดมีตัวตนอยู่จริง” น.ส.วราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นายเจริญศักดิ์ ดีแสน ผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์ และอดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กล่าวว่า เคยนำวิชาลูกเสือไปสอนเด็กชาวเขาชนเผ่ากระเหรี่ยง โดยยึดเอาหลักการของรัชกาลที่ 6 มาใช้ในการพัฒนาคน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ เพราะอุดมการณ์ทางการลูกเสือเป็นสิ่งที่จะมาช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยในตัวเอง และต้องการให้สังคมภายนอกเข้าใจงานของการศึกษานอกโรงเรียน รวมถึงเป็นการนำอุดมการณ์ทางการลูกเสือเข้ามาสู่เด็ก ชุมชนและสังคมเพื่อสร้างความมีระเบียบ ความมีวินัย การรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นแนวทางจัดการศึกษาในพื้นที่สูงอยู่แล้ว และการที่เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่นครสวรรค์ ก็ได้นำการสอนเหล่านี้เข้ามาปรับสอนด้วย
นาย เจริญศักดิ์ ย้ำอีกว่า ในเรื่องของการจัดการศึกษานั้น งานกิจการลูกเสือเป็นสิ่งที่เข้ามาเสริมสร้างได้อย่างดี เพราะลูกเสือทำให้คนมีเพื่อน มีความสนุก เกิดการผจญภัยรู้จักการต่อสู้ในชีวิต ฉะนั้นตรงนี้จะเป็นตัวเสริมให้เด็กมีระเบียบวินัย รู้จักตัวเอง รู้จักเข้าไปช่วยเหลือสังคม สุดท้ายความรักชาติ รักแผ่นดินจะถูกปลูกผังไปพร้อมๆ กัน ซึ่งลูกเสือสำรองนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กให้ก้าวขึ้นไปสู่ความ เป็นผู้ใหญ่
ส่วน น.ส.สุริยาพร สังข์สี ครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ครู ศรช.) ต.บางยาง สังกัด กศน.อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เล่าว่า ปกติเป็นคนเชื่องช้า เฉื่อยชา ทำอะไรก็จะช้าไปหมด เวลาสอนเด็กมักจะไม่เชื่อฟัง แต่เมื่อเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือ ทำให้ปัจจุบันเป็นคนกระฉับกระเฉง ทำอะไรไวขึ้น จึงทำให้รู้สึกดีที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือ และจะนำไปพัฒนาการเรียนการสอน เพิ่มกิจกรรมเข้าไปสอดแทรกสอนเด็กให้มีทักษะชีวิตที่ดี ทั้งเรื่องเพศศึกษา ยาเสพติด และของมึนเมา
“มั่น ใจว่าการเรียนวิชาลูกเสือสามารถพัฒนาคนได้จริง การเพิ่มทักษะชีวิตเข้ามาสอนลูกเสือใน กศน.ยิ่งทำให้เด็กมีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความสามัคคีในหมู่คณะ มีความเป็นระเบียบ กศน.เป็นสถานศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กที่ครอบครัวไม่พร้อมในการเรียน หรือมีปัญหาต่างๆ ก็จะทำให้ได้รับโอกาสเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ กศน.ยังเปิดสอนด้านอาชีพให้กับผู้ที่ว่างงานที่ต้องการอาชีพเสริม โดยมีการสอนสอดแทรกทักษะชีวิตเข้าไปด้วย” น.ส.สุริยาพร กล่าว
ขณะ ที่ ว่าที่ พ.ต.สมควร อุ่นเรือน ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ จ.นครนายก กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ไปสอนวิชาลูกเสือให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำ จ.นครนายก ก่อนพ้นโทษช่วง 2-6 เดือน ผู้ต้องขังชายส่วนใหญ่ที่ได้นำทักษะชีวิตไปใช้ระหว่างรับโทษ ทำให้เข้าใจชีวิตและความเป็นอยู่มากขึ้น และเมื่อพ้นโทษออกมาส่วนใหญ่จะเข้าวัดเพื่อบวชทดแทนบุญคุณ ทำให้เข้าใจว่าการสอดแทรกทักษะชีวิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนวิชาลูกเสือ มีประโยชน์และเห็นผลได้เด่นชัดเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ที่เข้ารับการฝึกเป็นผู้ที่มีวินัย มีจิตใจโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว มีความรักสามัคคีเกิดขึ้นในหมู่คณะ ทำให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
“การ ที่ได้มีโอกาสเข้าไปสอนผู้ต้องขังในเรือนจำ ทำให้เห็นว่า การสอนวิชาลูกเสือให้กับเด็กๆ นั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะได้ช่วยสอนให้เด็กมีทักษะชีวิต รู้อะไรผิดถูก เพื่อไม่ให้เด็กเติบโตขึ้นมาทำความผิดในเรื่องต่างๆ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องช่วยกันฝึกเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยวิชาลูกเสือซึ่งมีกระบวนการที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในสังคมยุคปัจจุบัน เพราะจะเป็นการย้ำให้สังคมเชื่อได้ว่าการสอนทักษะชีวิตในวิชาลูกเสือสามารถ สร้างคน และทำให้เด็กนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสังคมได้จริงอย่างแน่นอน และถือเป็นการดึงเด็กพ้นจากโคลนตมไม่เป็นบัวใต้น้ำอีกต่อไป” ว่าที่ พ.ต.สมควร กล่าว
การ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ขาดทักษะชีวิตด้วยกระบวนการลูก เสือ จะทำให้เกิดการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม
ขอบคุณภาพและที่มาของข่าวจาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
© 2023 Created by Surin yingneuk.
Powered by
You need to be a member of เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40 to add comments!
Join เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40