วิธีหาความรู้ที่ครูต้องฝึกนักเรียน learn how to learn
บรรยากาศ ของห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21.. Characteristics of 21st Century Teaching นั้น
มีจุดมุงหมายหลักประการหนึ่งของของ “การเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21.” ก็คือ สอนให้นักเรียนรู้จัก “วิธีหาความรู้ learn how to learn.” โดยการฝึกอบรมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างความรู้จากประสบการณ์การณ์ด้วยตนเอง..ดังคำที่ว่า
*** One of the primary goals of using constructivist teaching is that students learn how to learn by giving them the training to take initiative for their own learning experiences.***
ดังนั้น ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21.จึงต้องมีลักษณะ “โดดเด่นเห็นชัด” ดังนี้
1.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแข็งขัน The learners are actively involved
***เรียกว่า Active learning หรือ Active participation learning นั่นเอง***
2.บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่เป็นประชาธิปไตย The environment is democratic
***นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง พิสูจน์ วิจารณ์ วิจัย เพื่อให้ได้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง***
3.เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ “มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน”และนักเรียนเป็นศูนย์กลาง The activities are interactive and student-centered
4.ครูอำนวยความสะดวกใน “กระบวนการเรียนรู้” ที่นักเรียนได้รับการสนับสนุน “ให้ต้องรับผิดชอบและเป็นอิสระ” The teacher facilitates a process of learning in which students are encouraged to be responsible and autonomous
5.ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณสมบัติเป็นผู้นำด้านวิชาการและมีวิสัยทัศน์ชัดเจนต่อปรัชญาการศึกษาปัจจุบัน Academic administrators are academically qualified and have a clear vision of the current educational philosophy.
ตัวอย่าง กิจกรรมการเรียนรู้ ของห้องเรียน “แห่งศตวรรษที่ 21.”
ในห้องเรียนของศตวรรษที่ 21..บรรยาการศการเรียนรู้ “เป็นกลุ่มการเรียน”ที่มีการ “โต้ตอบแสดงความรู้ แบบไดนามิค” ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา แคล่วคล่อง และมีพลัง มุ่งเน้นไปที่ “การให้ความสำคัญกับสังคม และการสื่อสาร ไม่น้อยไปกว่า การแลกเปลี่ยนความคิด และการเรียนรู้ร่วมกัน
***There is a great focus and emphasis on social and communication skills, as well as collaboration and exchange of ideas.***
ในห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21.เป็นการ เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ Experience Learning ผู้เรียนสามารถ “สร้างความรู้ขึ้นในตนเองได้ เรียกว่า Child Centered หรือ Learner Centered”..เป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ที่รู้จักกันดีว่า Learning by Doing...
เมื่อผ่านเข้าไปในห้องเรียน ท่านจะพบกิจกรรมเหล่านี้...คือ
1.การทดลอง Experimentation นักเรียนเป็นรายบุคคลดำเนินการทดลอง แล้วมาร่วมกัน เป็นกลุ่ม หรือเป็นชั้น เพื่อที่จะปรึกษาหารือหารือเกี่ยวกับ ผล หรือ ข้อมูลที่แต่ละคนได้มา Students individually perform an experiment and then come together as a class to discuss the results.
ในเรื่องของการทดลองนี้ ใคร่ขอยกตัวอย่าง “กระบวนการ Learning by Doing ที่ได้เคยนำเสนอบ่อยๆ มาทบทวน ดังนี้
***หลักการ Learning by Doing โดยสรุปมีขั้นตอน ดังนี้
1.ให้ “นักเรียนทุกคน”สำรวจตรวจสอบและเก็บข้อมูลทุกด้านแล้วบันทึกไว้เป็นข้อๆ Collect data, Gather information,>>2.ครูวิจารณ์ และเสนอแนะการสำรวจ Exploring ที่คลอบคลุมทุกดาน หรือการหาข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล >>3.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย 3-5 คน เพื่อการ Brainstorming เรียนรู้จากกลุ่มด้วยวิธี Cooperative and Collaborative Learning มีการนำเสนอข้อมูลของตน สมาชิกของกลุ่มโต้แย้ง หรือยอมรับ และยืนยันความถูกต้อง เรียบเรียงใหม่ หลอมรวมข้อมูลของแต่ละคนเป็น “อันเดียวกัน” เรียกว่า การสร้าง “นวัตกรรม หรือ Innovation”ของกลุ่ม >>4.ทุกกลุ่มนำเสนอ Innovation หรือ ผลงานนวัตกรรมของกลุ่มตน >>5.ครู, นักเรียนในชั้น ทำหน้าที่ Feedback เพื่อความกระจ่างชัดถูกต้องตามความเป็นจริง >>6.คุณครูสรุปบทเรียน หรือ Summarizing >>7.นำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป.***
2. โครงการวิจัย Research projects the systematic investigation into and study of materials and sources in order to establish facts and reach new conclusions. ระบบการตรวจสอบและการศึกษาเรื่องราว ข้อมูล เนื้อหา และแหล่งที่มาเพื่อสร้างข้อเท็จจริงและข้อสรุปอันใหม่
วิธีการคือ นักเรียนวิจัยหัวข้อที่ต้องหาคำตอบด้วยการวิจัย และสามารถนำเสนอผลการวิจัยของพวกเขาในชั้นเรียน Students research a topic and can present their findings to the class.
***ท่านจะเห็นว่า การเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐานการเรียน Project Based Learning “ย่อว่า PBL” และ การใช้ ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ Problem Based Learning “ตัวย่อ PBL เหมือนกัน” ก็เป็นเรื่องของโครงการวิจัย ในลักษณะเดียวกันนี้***
3.ทัศนศึกษา Field trips, เรียนรู้จากแหลงประกอบการจริง Learn from real sources., เรียนรู้จากสถานที่จริง Learn from real places., หรือแหลงความรู้จริง จะช่วยให้นักเรียนนำแนวความคิดและความคิดในโลกแห่งความจริงที่ได้ไปเห็นมา สร้างองค์ความรู้ให้กับตนเอง
***หลังจาก “การทัศนศึกษา” ควรต้องตามมาด้วยการอภิปรายในชั้นเรียน Field trips would often be followed by class discussions.***
4.ภาพยนตร์ Films สารคดี Clip ความรู้ต่างๆ Internet ICT หรือ Information and Communication Technology, สิ่งเหล่านี้ให้บริบท ภาพอรรถาธิบาย และให้ความรู้สึกอื่นที่แตกต่างกันออกไป นับเป็นประสบการณ์การเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง These provide visual context and thus bring another sense into the learning experience.
***ในวันนี้ สพฐ.มีสื่อการเรียนการสอน ที่เรียกว่า DLIT หรือ Distance Learning Information Technology ซึ่งครูสามารถนำมา “ปรับใช้” เพื่อยกระดับการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด เปรียบเป็น “ขุมทรัพย์” ที่นำมาใช้ยกระดับการเรียนรู้ทุกๆรายวิชา ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ม.6 เลยทีเดียว..ผู้เขียนศึกษาโดยละเอียดแล้ว..”ขอให้กัลยาณมิตรทางการศึกษาทุกท่าน ปรบมือให้กระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ”เอาให้ดังกึกก้องเลยนะครับ***
5.อภิปรายในชั้นเรียน Class discussions. เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ของผู้เรียนอีกวิธีหนึ่ง ในกลุ่มของ “การนำเสนอ Presentation” ..การน้อมรับคำวิจารณ์ และความเห็นที่แตกต่าง เรียกว่า Feedback นั้นมีคุณค่ามาก ซึ่งทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถนำไป แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
***ความเห็นที่แตกต่าง คำติชม หรือ Feedback... เป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนภาพของตัวเอง ในทางการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก เพราะมันทำให้เรา “ได้คิดทบทวน Rethinking ในประสบการณ์ที่สร้างความรู้ในเรื่องนั้นๆ ผิดถูกอย่างไรก็ได้รู้ “เมื่อมีการพิจารณาอย่างแยบยล Critical Thinking” อีกครั้งหนึ่ง..จึงควรเชื่อมั่นอย่างจริงจังว่า.. “ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา The difference of opinion is the beginning of wisdom”***
6.การจัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการของนักเรียน Exhibition of Student Projects
***เป็นการเน้นย้ำ ความรู้ ความเข้าใจ ความรอบคอบ และความรับผิดชอบต่อสาธารณะ อีกวิธีหนึ่ง***
7.การนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตจริง Bringing Knowledge to Life
นี้คือ จุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21..และเป็นแนวทาง นำไทยไปถึง Thailand 4.0 ได้จริง
ท่านที่เคารพ..ประการสำคัญที่สุด “เราต้องไม่ลืมว่า ความรู้เกิดจากการแก้ปัญหา”..ปัญหามีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ มีอยู่ในสังคม มีอยู่ในโลกและจักรวาร..
***เราต้อง “เรียนรู้ เพื่อจะรู้เท่าทันปัญหาเหล่านั้น” อย่างฉลาด Learn how to learn…
เราต้องเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา “ของตัวเราเองเป็นเบื้องต้น” เพื่อให้ตนเอง “สามารถปรับตัว ปรับใจ ปรับความเป็นอยู่” เพื่อมีชีวิตที่ผาสุกในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
นี่คือการเรียนรู้ที่แท้จริง..การเรียนรู้เพื่อชีวิต..Learn for life..
สุทัศน์ เอกา............................บอกความ
You need to be a member of เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40 to add comments!
Join เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40