สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society)

สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society)

สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติแบบองค์รวมเพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และมีความสุข ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีมานานแล้วโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศและนักคิดคนสำคัญ (อาทิ UNESCO, 2005; OECD, 1998; Schon, 1963; Hutchins, 1970; Husen, 1974; Drucker,1993; Ranson, 1994 เป็นต้น) ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศในทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรม สเปน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และประเทศในทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นต้น กำหนดให้สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นวิสัยทัศน์หลักในการพัฒนาคนและประเทศ สำหรับประเทศไทยการปฎิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความสำคํญกับการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีสิทธิและมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย และบูรณาการเข้าเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคม

“สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมายถึง สังคมที่ผู้คนมีนิสัยรักการเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้ มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนใจและใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ผู้คนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลายและใช้ความรู้และทักษะความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม มีกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการ สะดวกรวดเร็วและมีการให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง เป็นสังคมที่มีการแบ่งปัน การถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทุกคนในสังคมร่วมมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง องค์ความรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญา มีระบบการบริหารจัดการความรู้ที่ทุกคนและทุกภาคส่วนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้ การพัฒนาสังคมเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนฐานการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีแบบองค์รวมเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

องค์ประกอบของสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ บุคคลแห่งการเรียนรู้หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้จัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบเสริม ได้แก่ วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบความผูกพันใกล้ชิดเป้าหมายการพัฒนา ความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค การออกแบบชุมชน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการประกันสิทธิการเรียนรู้ การสนับสนุนงบประมาณ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอาศัยองค์ประกอบทั้งเชิงโครงสร้างทางสังคมและเชิงระบบหรือสถาบันสำคัญของสังคม

หลักการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนฐานการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติที่ดีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณภาพและมีความสุขอันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน แต่ผลจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทยพบว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ แม้ว่ามีบรรยากาศการเรียนรู้ เช่น การยกย่องชุมชนต้นแบบด้านการเรียนรู้ และมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้มากมายทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชน ภูมิภาค และระดับชาติ แต่เนื่องจากผู้คนยังไม่มีนิสัยและคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learners) ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ในระดับองค์กรยังมีการยอมรับความสามารถของคนภายในด้วยกันในระดับต่ำ ประกอบกับการแบ่งปันความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังพบเห็นได้เฉพาะในบางหน่วยงาน อาทิ หน่วยงานด้านการศึกษาเท่านั้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอและเกื้อหนุนการเรียนรู้ตามปัญหา ความต้องการและความสนใจที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต้องเร่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งระบบ ไม่เจาะจงการพัฒนาไปที่การศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย) ให้ความสำคัญกับรูปแบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น มีมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การเพิ่มโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เป็นธรรมและมีคุณภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา การกระตุ้นและยกระดับการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นที่ตัวบุคคล ทั้งในแง่ทัศนคติที่ดี ความรู้ ทักษะและการประพฤติปฏิบัติตัว ส่งเสริมให้บุคคลเป็นผู้รักและใฝ่เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นผู้เปิดกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีนิสัยรักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีภาวะผู้นำตนเองในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยทั่วไปมีกระบวนการพัฒนาอันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1. การสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาโดยใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา และคุณค่าของการศึกษาตลอดชีวิต

2. การจัดตั้งคณะทำงาน เรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อทำหน้าที่วางแผนการดำเนินงาน พัฒนาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำเนินโครงการการต่างๆ และการประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งรับผิดชอบการประสานงานร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. วิเคราะห์สภาพองค์กรหรือชุมชนในการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. กำหนดแผนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

5. พัฒนาแผนปฏิบัติการอย่างละเอียดสำหรับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

7. ดำเนินการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง

8. กำกับติดตามและประเมินผลความสำเร็จเป็นระยะๆ

9. สรุปองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานกับสมาชิกและเครือข่ายที่หลากหลาย

10. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการดำเนินงานการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทั้งนี้ องค์กร หน่วยงานและชุมชนสามารถปรับกระบวนการพัฒนาข้างต้นได้ตามความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร แนวนโยบาย ลักษณะการเรียนรู้ของผู้คนในองค์กร เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากภายใน ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติงานที่เน้นความร่วมมือแบบหุ้นส่วน การมีส่วนร่วม และการมีความสามารถในการดำเนินการที่ชัดเจนและเป็นระบบต่อเนื่องอย่างเป็นพลวัต

สำหรับบริบทโรงเรียน การพัฒนาโรงเรียนไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ในการปฏิบัติขึ้นอยู่กับลักษณะบริบทโรงเรียน แนวนโยบาย วัฒนธรรมการเรียนรู้ การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และระบบโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน โดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนมีแนวทางที่สำคัญๆ ดังนี้

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงเรียนไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ชัดเจนและความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง

2. การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติสามารถกระทำได้ทั้งในระบบและนอกระบบ อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และทั้งในระดับส่วนบุคคลและส่วนรวม ดังนี้

2.1 กำหนดคณะทำงานที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งระดับบริหารและดำเนินการ

2.2 แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ

2.3 จัดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ความเชื่อ แนวคิดการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่ายร่วมกัน รวมทั้งสร้างกระแสความตื่นตัวและมีบทบาทสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

2.4 กำหนดกรอบการพัฒนา วางแผนดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการขับเคลื่อน พิจารณาประเด็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือความสนใจร่วม

2.5 ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาอย่างเป็นระบบแบบมีส่วนร่วม ปรัยกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกห้องเรียน

2.6 จัดกิจกรรมการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียน โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ตระหนัก เห็นคุณค่าและรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

2.7 ดำเนินการจัดกิจกรรม และส่งเสริมการพัฒนา ฝึกปฏิบัติซ้ำจนเกิดเป็นอุปนิสัย พฤติกรรมใหม่ ที่ดีงาม เช่น กิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่าน รักการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการสร้างทัศนคติที่ดี การเปิดกว้างในการรับรู้ และยอมรับซึ่งกันและกัน

2.8 จัดสภาพแวดล้อมและการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในเชิงกายภาพ จิตใจ และสังคม สร้างอัตลักษณ์โรงเรียนให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและพฤติกรรม

2.9 กำหนดให้มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่องตามตัวชี้วัด เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

2.10 สรุปผลการดำเนินงาน ส่งเสริมการยกย่องและสร้างขวัญกำลังใจ เช่น การยกย่องเชิดชูคนดี เก่ง และมีความสุข

2.11 จัดระบบการจัดการความรู้โดยสร้างการเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน ชุมชนและระหว่างชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในวงกว้าง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกในการบริหารจัดการ

2.12 สร้างระบบงานที่ส่งเสริมการพัฒนา การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนความสำเร็จ ประชาสัมพันธ์นำเสนอบทเรียน องค์ความรู้สู่สาธารณะทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับชุมชนหรือสังคมอื่นๆ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

3. การสร้างคุณค่าและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ผลจากการพัฒนาจนเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้จะทำให้โรงเรียนมีบุคลากรที่เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความพร้อมปฏิบัติงานและทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น โรงเรียนมีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างคุณค่า ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนมีความเป็นเลิศทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ เป็นที่พึงให้กับผู้คน ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียน สามารถพิจารณาได้จากการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปในระดับบุคคล และระดับองค์กร นั่นเอง

แผนภาพ 1 แสดงกระบวนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับองค์กรและชุมชน

จะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนให้ความสำคัญกับการใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา การเห็นคุณค่าและมีวิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาร่วมกันที่ชัดเจน การใช้ศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลักและการมีส่วนร่วมตั้งแต่การกำหนดและตัดสินใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเองและหน่วยงาน การสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและกำลังความสามารถ การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ก่อเกิดพลังการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอันเป็นรากฐานการพัฒนาโรงเรียนที่เข้มแข็ง อันจะเชื่อมโยงและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติที่ยั่งยืนต่อไป

สรุป การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องคำนึงถึงภูมิสังคม ปรับการพัฒนาให้สอดประสานกับแนวทางการพัฒนาชุมชน องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของบุคคลและกลุ่มบุคคล และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยมีการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกลไกการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคมควรทำความเข้าใจหลักคิดและแนวปฏิบัติของสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและการพัฒนาประเทศชาติที่มีดุลยภาพและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชนและสังคมโดยรวม สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551

รายการอ้างอิง

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวก

สำหรับชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชา

การศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

Drucker, P. (1993). Post-Capitalist Society. HarperBusiness. New York, NY.

Faure, E., Herrera, F., Kaddoura, A., Lopes, H., Petrovsky, A., Rahnema, M., & Ward, F. R. (1972). Learning to be: The world of education today and tomorrow. Paris, France: UNESCO.

Husen, T. (1974). The Learning Society, London: Methuen.

Hutchins, R. M. (1970). The Learning Society, Harmondsworth: Penguin.

Longworth, N., & Osborne, M. (Eds.). (2000). Perspectives on learning cities and regions: Policy, practice and participation. Leicester, England: National Institute of Adult Continuing Education.

OECD. (1998). High level seminar on competitive strength and social cohesion through learning cities and regions: Concepts, developments, evaluation. Paris: Center for Research and Innovation.

Ranson, S. (1994). Towards the Learning Society, London: Cassell.

Schon, D. (1963). The Theory and Rhetoric of the Learning Society. Retrieved from

http://www.infed.org/lifelonglearning/b-lrnsoc.htm.

Scott, L. (2015). Learning cities for adult learners. New Directions for Adult and Continuing Education, Number 145. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

UNESCO. (2005). Towards knowledge societies. UNESCO World Report. UNESCO Publishing.

Retrieved from www.unesco,org/en/worldreport

ประวัติผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Views: 1380

Comment by Surin yingneuk on November 4, 2020 at 7:10am

ขีดเส้นใต้ บทสรุป

    การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องคำนึงถึง
       ภูมิสังคม ปรับการพัฒนาให้สอดประสานกับแนวทางการพัฒนาชุมชน องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
       การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม
       การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของบุคคลและกลุ่มบุคคล และ....
       การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ .......

Comment

You need to be a member of เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40 to add comments!

Join เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40

   9/12/2012
Flag Counter

Latest Activity

Surin yingneuk posted a note

การฟ้องศาลปกครอง

ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี               ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542               กล่าวคือ…
Sep 8, 2022
Surin yingneuk liked Surin yingneuk's video
Aug 26, 2022
Surin yingneuk commented on Surin yingneuk's status
" เวลาของชีวิต ๖ ปี ๓ เดือน ..... วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ ส่ง คำขอ...ผ่าน โรงเรียน เข้า เขตพื้นที่การศึกษา สพม.๓"
Jul 24, 2022
Surin yingneuk commented on Surin yingneuk's status
"ระหว่างรอคอย....กระบวนการเยียวยา และแจ้งผล จาก ก.ค.ศ. ๙๐ วัน นับจากวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕"
Jul 24, 2022
Surin yingneuk posted a status
"มุ่งสู่เป้าหมาย....ภายใน ๑ เดือน..."
Jul 24, 2022
Surin yingneuk replied to Surin yingneuk's discussion การเสนอขอทบทวนการมีคุณสมบัติเพื่อการพิจารณา "ครูเชี่ยวชาญ"
"สรุปผลการพิจารณาคำขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว13/2556"
May 20, 2022
Surin yingneuk posted a discussion

แจงเหตุครูตู่รับรองหลักสูตรใหม่ช้า สพฐ.ชี้Active Learningเรียนเป็นสุข วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 15.43 น.

17 พ.ค.2565 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ในฐานะกำกับดูแลสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เปิดเผยว่า หลักสูตรการศึกษาของชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีเพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ส่วนกระแสข่าวที่ว่าจะนำหลักสูตรใหม่ หรือ หลักสูตรฐานสมรรถนะมาใช้ ตนก็ยังไม่เข้าใจ เพราะตอนนี้เราก็จัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งสู่สมรรถนะอยู่แล้ว…See More
May 18, 2022
Surin yingneuk posted videos
May 18, 2022
Surin yingneuk replied to Surin yingneuk's discussion การเสนอขอทบทวนการมีคุณสมบัติเพื่อการพิจารณา "ครูเชี่ยวชาญ"
"https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3256927 เครือข่าย ผู้ที่ได้รับผลกระทบตาม ว 13 บุก ศธ.ขอความเป็นธรรม รับรองคุณสมบัติผู้รับการประเมิน วันที่ 28 มีนาคม 2565 - 13:30 น. Facebook Twitter LINE Copy Link ประกันอุบัติเหตุ…"
May 16, 2022
Surin yingneuk replied to Surin yingneuk's discussion การเสนอขอทบทวนการมีคุณสมบัติเพื่อการพิจารณา "ครูเชี่ยวชาญ"
"https://siamrath.co.th/n/335066 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพยื่นหนังสื่อร้องขอความเป็นธรรมกับ"เสมา1"      สยามรัฐออนไลน์  28 มีนาคม 2565 13:43 น.  ประชาสัมพันธ์ ADVERTISEMENT วันที่…"
May 16, 2022
Profile Iconthitipn gd and Viewfruit Global joined เครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 kruthai40
Jan 18, 2022
Surin yingneuk posted a status
"(จำนวน 111 ราย) https://www.kroobannok.com/89318"
Sep 20, 2021
Surin yingneuk commented on Surin yingneuk's blog post ครูต้นแบบ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ครูเกียรติยศ(Teacher Award)
"ประกาศสำนักงาน ก.ค.ศ. เรื่อง ผลการพิจารณาคุณสมบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ…"
Sep 3, 2021
Surin yingneuk commented on Surin yingneuk's blog post ครูต้นแบบ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ครูเกียรติยศ(Teacher Award)
Sep 3, 2021
Maris A updated their profile
Apr 26, 2021
Surin yingneuk posted a discussion

ชำแหละ ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ฉบับ กฤษฎีกา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564

ประธานสภาคณบดีครุฯ ชี้..เป็นการทุจริตเชิงกฎหมาย จากการชำแหละ ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ฉบับ กฤษฎีกา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 เฟซบุ๊คไลฟ์ รายการ “ทุกปัญหาการศึกษาไทย” ได้มีการพูดคุยประเด็นร้อน เรื่อง ชำแหละ ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ และฉบับ กมธ. ปรับปรุงและเสนอโดย สุรวาท ทองบุ และ สส.พรรคก้าวไกล โดยมีแขกรับเชิญและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ - รศ.ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีครุศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย - ผอ.ธนชน มุทาพร ชมรม ผอ.สพท. - ดร.รุ่งโรจน์ ตรงสกุล อนุ กมธ. -…See More
Apr 26, 2021

Events

Photos

  • Add Photos
  • View All

© 2023   Created by Surin yingneuk.   Powered by

Badges  |  Report an Issue  |  Terms of Service