พัฒนาคุณภาพการศึกษาออนไลน์ BANGSAIY PLF-MODEL(R&D)
สื่อนำเสนอเพื่อการประเมิน วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ ว.13 เชิงประจักษ์
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
การประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสําเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็น วิทยฐานะชํานาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ทุกตําแหน่ง
ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ สธ 0206.3/ว13 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2556 สําหรับให้คณะกรรมการการประเมิน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ เป็นคู่มือในการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ และ
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
คำชี้แจง
คู่มือการประเมินนี้ ประกอบด้วยเอกสาร จํานวน 3 รายการ ดังนี้
1. แผนภูมิการประเมิน 2. สรุปสาระสําคัญ 3. แบบบันทึกการประเมิน มีจํานวน 4 แบบ ดังนี้
3.1 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 1 ก.ค.ศ. 4 (ดีเด่น) ใช้สําหรับกรรมการบันทึกผลการประเมิน ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในแต่ละตอน จํานวน 5 ตอน โดยนําระดับคุณภาพ ที่ประเมินไว้มาคิดเป็นค่าคะแนน รวมทั้งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็น ในเรื่องที่ประเมิน
3.2 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 2 ก.ค.ศ. S/1.1 (ดีเด่น) ใช้สําหรับกรรมการบันทึกผลการประเมิน ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ทั้ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และ ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ หรือ ในงานที่รับผิดชอบ โดยนําระดับคุณภาพที่ประเมินไว้มาคิดเป็นค่าคะแนน รวมทั้งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อคิดเห็นในเรื่องที่ประเมิน
3.3 แบบบันทึกการประเมินด้านที่ 3 (ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3) ก.ค.ศ. 6/1.1 (ดีเด่น) ใช้สําหรับกรรมการบันทึกผลการประเมินด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงานทั้ง 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ส่วนที่ 2 ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสําเร็จเป็นที่ประจักษ์ และส่วนที่ 3 ผลงานทางวิชาการ ผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลง โดยนําระดับคุณภาพที่ประเมินไว้มาคิดเป็นค่าคะแนน(ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) รวมทั้งบันทึก ข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนผลงานดีเด่นที่ประสพผลสําเร็จเป็นที่ประจักษ์ และผลงาน ทางวิชาการ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง
3.4 แบบสรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 ก.ค.ศ. /1 (ดีเด่น) ใช้สําหรับเจ้าหน้าที่ ผู้ทําหน้าที่เลขานุการ บันทึกผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 ของกรรมการทั้ง 3 คน ความเห็น ของคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการประเมินและข้อสังเกตในภาพรวมของการประเมิน
Tags:
ส่วนที่ ๒ ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ นายสุรินทร์ ยิ่งนึก
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓
ผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป
รางวัล ครูภาษาไทยดีเด่น (รางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ.)
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
๑. สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงาน “รางวัลครูภาษาไทยดีเด่น” ประจำปี ๒๕๔๐ จาก สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
คุรุสภาในฐานะสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยได้กำหนดจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และเพื่อเป็นการยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ที่ตั้งใจปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จนสามารถเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพยกย่องอย่างสูงของศิษย์และบุคคลทั่วไปสมกับเป็นปูชนียบุคคล และมีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพ ตลอดจนระยะเวลาของการปฏิบัติงาน ให้มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เกิดประโยชน์แก่ศิษย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ข้าพเจ้าซึ่งเป็นข้าราชการครูในระดับมัธยมศึกษาบรรจุแต่งตั้งดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๑ โรงเรียนกุดตุ้มวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กเริ่มเปิดทำการสอนใหม่ อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างจากจังหวัดชัยภูมิ ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยในปีแรกมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘๐ คน มีผู้บริหารและข้าราชการครูรวมทั้งสิ้นจำนวน ๖ คน
จากความกันดารและขาดแคลนดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้าต้องรับผิดชอบการสอนรายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา นักเรียนทั้ง ๒ ห้องเรียน ข้าพเจ้าจบวิชาเอก ภาษาไทย และเทคโนโลยีทางการศึกษา จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คิดค้นพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรมประกอบการเรียนการสอนอย่างบูรณาการ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการของโรงเรียน ได้แสวงหาความรู้ อ่านหนังสือ ค้นคว้า เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการต่อยอดประสบการณ์ เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน ได้เรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียน ได้ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เริ่มต้นชีวิตครูด้วยการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่ด้อยโอกาส บริหารจัดการชั้นเรียน จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้เป็นเรื่องที่น่าสนุกสนานสำหรับครูและนักเรียนและมีประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้เริ่มต้นภาคภูมิใจในวิชาชีพครูมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูที่สมบูรณ์
หลังจากที่ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครู สอน รายวิชา ภาษาไทยที่ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ เริ่มขยายจัดการศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา ๒๕๓๒ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานโสตทัศนศึกษา แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่พบว่า มีนักเรียนจำนวนมากมีสภาพปัญหาทางบ้านทำให้การขาดเรียนบ่อย ผลสัมฤทธิ์ต่ำ มีนักเรียนจำนวนหนึ่งออกกลางคันบ้าง สาเหตุมาจากฐานะครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก บางคนต้องอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย และญาติ มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ และด้านพฤติกรรมอยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในระหว่างเรียนวิชาภาษาไทยจะไม่สนใจเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ประกอบกับโรงเรียนมีแนวทางพัฒนาจัดการเรียนรู้ให้ครูใช้สื่อ นวัตกรรมประกอบการสอนให้มากขึ้น มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อส่งเข้ารับการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ในปี ๒๕๓๒ มุ่งเน้นพัฒนาทางด้านวิชาการ ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อและนวัตกรรม ข้าพเจ้าได้นำหลักการบริหารและบริการสื่อมาใช้เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย และแนะนำเพื่อนครู จัดอบรมสัมมนาการผลิตสื่อที่ทันสมัยในรูปแบบต่างๆ แก่ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากการแก้ปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อเพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นสื่อวีดิทัศน์ต้นแบบประกอบการวิจัยเชิงทดลอง การใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องประกอบการอ่านอย่างวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เสนอผ่านทางโรงเรียน ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ส่งผลให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ตั้งใจในการเรียน ให้มีโอกาสได้เลือกเรียนตามรูปแบบความคิดของตน ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน โดยได้นำสื่อประเภทต่างๆมาเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เรียนในขั้นนำตลอดมา และได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นการปฏิบัติงานจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผลจากการดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ วิชาการภาษาไทย โดยใช้การวิจัยและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมประกอบการสอน ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดวิจารณญาณ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด รู้จักการทำงานเป็นระบบ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีทักษะในการปฏิบัติงานโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม กระบวนการปฏิบัติ ลดปัญหาการออกกลางคัน รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น มีจินตนาการ มีความใฝ่รู้ อดทนในการทำงานมากขึ้นและสร้างชิ้นงานจากการเรียนรู้ของตนเอง โดยบูรณาการการนำเสนอผลงานภาษาไทยกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน และที่สำคัญที่สุดคือทำให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการศึกษาเล่าเรียนเข้าถึงความรู้มากยิ่งขึ้น และห่างไกลจากยาเสพติดสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้าในห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ต่างๆในโรงเรียน อาทิเช่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
จากการที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ครูในโรงเรียนกุดตุ้มวิทยา และโรงเรียนบางซ้ายวิทยา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ตั้งใจปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และปฏิบัติงานเป็นข้าราชการครูมาแล้วรวมระยะเวลา ๓๔ ปี รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาโดยตลอด สามารถพัฒนางานการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย พัฒนาศิษย์ต่อยอดจนข้าพเจ้าได้รับรางวัลระดับชาติ ระดับกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา ระดับภูมิภาค และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสหวิทยาเขต ตลอดจน สามารถประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างเคร่งครัด จนสามารถเป็นแบบอย่าง สมกับเป็นปูชนียบุคคล อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพ และเพื่อเสริมสร้างศรัทธาและเชื่อถือในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี
เนื่องจากรางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลครูภาษาไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๐ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เกินห้วงกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ. กำหนด จึงขอแสดงให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มรับราชการจนกระทั่งระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๙ ดังนี้
๒๕๒๔ บรรจุเข้ารับราชการที่โรงเรียนกุดตุ้มวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
( ครูรุ่นแรกบุกเบิกก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำตำบล ๒๕๒๔)
๒๕๒๕ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ โรงเรียนกุดต้มวิทยา ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ ศึกษาต่อ (ทุนประเภท ข) ระดับปริญญาโท ภาควิชาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๒๙ อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ โรงเรียนกุดตุ้มวิทยา
๒๕๓๒ อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ ช่วยปฏิบัติราชการโรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๕๓๓ อาจารย์ ๒ ระดับ ๕ ช่วยปฏิบัติราชการ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
๒๕๓๖ อาจารย์ ๒ ระดับ ๖ ช่วยปฏิบัติราชการ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
๒๕๓๙ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
๒๕๔๗ ครู อันดับ ค.ศ. ๒ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
๒๕๔๙ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
๒๕๕๒ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ( ค.ศ. ๓ )
ประสบการณ์/ การปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๒๕๒๔ - ๒๕๓๑ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการและแผนงาน โรงเรียนกุดตุ้มวิทยา ขับเคลื่อน โรงเรียนให้มีคุณภาพตามโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท( มพช. ๒ รุ่น ๓ ) เป็นที่ยอมรับของชุมชน และจังหวัดชัยภูมิ
๒๕๓๒ - ๒๕๓๔ จังหวัดชัยภูมิแต่งตั้งร่วมเป็นคณะสำรวจต้นกำเนิดแม่น้ำชี ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นผู้เขียนบทสารคดี ถ่ายทำ ตัดต่อลำดับภาพ และบรรยายสารคดี “ต้นกำเนิดแม่น้ำชี” ทูลเกล้าฯ ถวาย ภาพถ่ายจากการสำรวจ และต้นฉบับสารคดีโทรทัศน์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และเผยแพร่แก่เยาวชนในภาคอีสาน
ปัจจุบันได้เผยแพร่ใน สื่อสังคมออนไลน์ ๙ ตอน www.youtube.com/kruthai (คำสืบค้น : ต้นกำเนิดแม่น้ำชี)
๒๕๓๒ - ปัจจุบันหัวหน้าศูนย์วิทยบริการ(นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รับผิดชอบกำกับ ดูแลวางแผนพัฒนา ICT เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและการเรียนรู้ในสถานศึกษา
๒๕๓๘ หัวหน้าหมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนบางซ้ายวิทยา
๒๕๔๑ หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา
๒๕๔๓ - ๒๕๔๘ บรรณาธิการวารสารทิวสน ( สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รายงานสาธารณชน ของโรงเรียน)
๒๕๔๘ เป็นคณะทำงานพัฒนาหนังสือ รวบรวมสืบค้น สัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เขียนบทความ สารคดี ถ่ายภาพ ประชุมคณะทำงาน จัดพิมพ์หนังสืออ่านเพิ่มเติม ของ กระทรวงศึกษาธิการ “พระนครศรีอยุธยา มรดกโลกล้ำค่า ภูมิปัญญาเลื่องลือ” เรื่อง วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับเรือไทย
๒๕๔๖ - ปัจจุบัน หัวหน้าฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้แทนครูในคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบางซ้ายวิทยา พัฒนาโรงเรียนเป็น “โรงเรียนรางวัลพระราชทาน” “โรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธ” “โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน” โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเหริญทองฯลฯ
ผลงานทางวิชาการ/วิทยากร(เฉพาะที่สำคัญ )
วิทยากรหลักอบรมครูโสตทัศนศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและในเขตจังหวัด ภาคกลางอ่างทอง นครนายก เรื่อง การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
( ๒๕๓๘ )
เผยแพร่ความรู้จากครูต้นแบบ ครูดีเด่นฯ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย มัธยมศึกษา เช่น รูปแบบการเขียนอักษรไทยในปัจจุบัน พัฒนาการเขียนอักษรไทยที่ถูกต้อง การพัฒนาการคัดลายมือ การใช้สื่อนำเรื่อง สอนวรรณคดีไทย ผลิตสื่อวีดิทัศน์นำเสนอเป็นสื่อออนไลน์ การจัดกระบวนการเรียนรูปแบบไตรสิกขา และพัฒนาเว็บไซด์สอนภาษาไทยออนไลน์ www.kruthai40.com , www.youtube.com/kruthai
เป็นวิทยากรศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย โรงเรียนในฝัน(ต้นแบบ) เผยแพร่ความรู้ ด้าน ICT : E-book : Flip Album : CAI ด้วย Captivate , การใช้โปรแกรม Flash สร้างสื่อCAI E-learning การพัฒนาสื่อใน Moodle : LMS ปัจจุบัน พัฒนาเว็บไซด์สอนนักเรียนโดยใช้สื่อ นวัตกรรม ทุกรูปแบบในห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Classroom) www.yingneuk.ning.com
เขียนบทความเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ในวารสารทิวสน
เอกสารประกอบการแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง หุ่นกระบอกไทยในยุคโลกาภิวัตน์
เอกสารทางวิชาการ “การผลิตและการใช้สื่อวีดิทัศน์” “การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา” “การผลิตและการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษา”
ผลงานการวิจัย
๒๕๓๙ งานผลการวิจัยเชิงทดลอง ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วรรณคดี เรื่องสามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
๒๕๔๕ รายงานการพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
๒๕๕๐ รายงานการวิจัยและพัฒนา การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้สื่อออนไลน์ ในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ วิชา ภาษาไทย(เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เกียรติประวัติ/โล่เกียรติยศ/เข็มเชิดชูเกียรติ
เป็นผู้คิดสร้างสรรค์ คำขวัญประจำอำเภอบางซ้าย เป็นที่ยอมรับและใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ว่า “ บางซ้ายถิ่นทุ่งทอง เรืองรองพันธุ์ไม้ผล ชีวิตริมสายชล มากล้นแหล่งพันธุ์ปลา”
๒๕๓๗ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูโสตทัศนศึกษาดีเด่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ครูโสตทัศนศึกษาดีเด่น เขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๐ ได้รับโล่การประกาศเกียรติคุณ“ครูภาษาไทยดีเด่น” ระดับ มัธยมศึกษา ประจำปี ๒๕๔๐ จากคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
๒๕๔๑ ได้รับรางวัล สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ประกอบการเรียนการสอนดีเด่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๑ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูแม่แบบการสอนภาษาไทย สาขา การสอนอ่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๒ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูดีเด่น สหวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา ๔
๒๕๔๒ ได้รับการเชิดชูเกียรติ "บุคคลดีเด่น" ประจำปี ๒๕๕๒ สาขาครูปฏิบัติการสอนดีเด่น จากหนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ
๒๕๔๓ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ "ผู้สร้างสรรค์คุณประโยชน์ด้านการศึกษา ประจำปี ๒๕๔๓ สาขา อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางด้านภาษา" จาก หนังสือพิมพ์เส้นทางผู้นำ
๒๕๔๕ ได้รับรางวัล เกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ ครูเกียรติยศ ( Teacher Award ) บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ( ครูต้นแบบ วิชา ภาษาไทย) จากกระทรวงศึกษาธิการ
๒๕๔๘ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เข็มเชิดชูเกียรติ จาก มูลนิธิเพชรภาษาเป็น “ครูภาษาไทยประกายเพชร” ได้รับการเสนอให้เป็นผู้บรรยายนำเสนอผลงานวิจัยและ เผยแพร่ สื่อ นวัตกรรม กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา แก่ครูภาษาไทยที่ร่วม สัมมนาจากทั่วประเทศ
๒๕๔๙ ได้รับรางวัล “ครูรักการอ่านยอดเยี่ยม” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่ความรู้ทางอินเทอร์เน็ต ใน “โครงการเครือข่ายเยาวชนสร้างเสริมคุณธรรมนำปัญญาจากการอ่าน”
๒๕๕๒ ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒จากคุรุสภา มีผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้เด่นชัดที่สุด เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน และเป็นผลของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ วิชาชีพครูอย่างสูง เป็นครูภาษาไทยที่มีนวัตกรรม มุ่งมั่นทุ่มเทเป็นผู้นำและสั่งสอนศิษย์ให้ใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ร่วมอนุรักษ์และดำรง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ใฝ่รู้รักการอ่าน เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสาน สืบทอด เอกลักษณ์ของชาติด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู
๒๕๕๔ ครูดีเด่น อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๕๕๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติสดุดี
"หนึ่งแสนครูดี" ตามรอย.... พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน"
๒๕๕๕ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น "เกียรติภูมิครุ จุฬาฯ"
จากสมาคมครุศาสตรสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๕๗ ได้รับเกียรติบัตรยกย่องในการนำเสนอรูปแบบการสอนโดยใช้หลักไตรสิกขา
เป็นฐาน ใน “โครงการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครูภาษาไทยประกายเพชร”
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ตามรอยพระยุคลบาท “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
๒๕๕๙ เกียรติบัตร ยกย่องเชิดชูเกียรติในความรู้ความสามารถในเชิง ภาษาไทย เป็น
ผู้ประพันธ์ คำขวัญวันครู “ยอดเยี่ยม” ของสถานศึกษา เนื่องในวันครูแห่งชาติ
(ครั้งที่ ๖๐) ประจำปี ๒๕๕๙
๒. วิธีดำเนินการจัดทำผลงาน
ข้าพเจ้าได้การพัฒนารูปแบบการสอน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา จัดเป็นผลงานทางวิชาการประเภท “รายงานการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน” ทั้งนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๗ ข้าพเจ้าได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้ดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งได้นำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการวิจัยในชั้นเรียน พัฒนานักเรียนในเรื่องราวที่ได้สนใจและต้องการหาคำตอบ จนถึงปีการศึกษา ๒๕๔๔ จึงได้รูปแบบการสอน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้สื่อนำเรื่อง ในรูปแบบง่าย ๆ แต่ครูต้องเป็นผู้รวบรวมแหล่งความรู้ จัดระบบออกแบบการเรียนรู้ตามขั้นตอน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเรียน ครูผู้สอน และความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านการจัดการเรียนรู้ การผลิตสื่อ-นวัตกรรม เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
เนื้อหาสาระในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ต้องการคำตอบที่ว่าทำไมต้องใช้สื่อนำเรื่อง ในกระบวนการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ที่มาของรูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่ได้ค้นคว้ามาจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ทักษะกระบวนการ เทคนิควิธีการสอน อะไรบ้าง สอดคล้องกับวิธีการสอนของข้าพเจ้าอย่างไร ได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนาการเรียนการสอนอย่างไร. วิธีการใดบ้าง ทำให้รู้ว่าวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการสอนโดยใช้สื่อนำเรื่องในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พัฒนานักเรียน อย่างไร เรื่องใดบ้าง ต้องการสรุปย่อแล้วอภิปรายเพิ่มเติมและเสนอแนะว่าต่อไปน่าจะทำอะไรบ้าง ความตั้งใจจริงทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าเพื่อนครูทุกคนสามารถนำไป ปฏิบัติได้ เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย ๆ ถ้าได้ศึกษาเรียนรู้จากรูปแบบการสอนต้นแบบ
เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ประกาศสรรหาบุคคลเข้ารับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น ของคุรุสภา” ประจำปี ๒๕๔๐ จึงได้รวบรวมผลงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติอยู่โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูและผู้บริหารโรงเรียน ให้ส่งผลงานเข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลจนสามารถได้รับรางวัลดังกล่าว
๓. การส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ดังนั้นข้าพเจ้าจึงทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจให้กับงานครู ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ ๓๔ ปีเต็ม ข้าพเจ้ารู้จักมีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ กล่าวคือการให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีงามโดยไม่บิดเบือนปิดบังหรือหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่นักเรียนได้เรียนรู้กับเราอย่างมีความสุข
ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ข้าพเจ้าจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้าพเจ้าจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้กับนักเรียนแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จะส่งเสริมให้เขารู้จักแสวงหาความรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เขาได้เรียนในสิ่งที่เขาสนใจ และสอดคล้องกับความต้องการ เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนโดยวิธีให้ปฏิบัติจริง และส่งเสริมให้นักเรียนส่งผลงานด้านทักษะการใช้ภาษาไทย เข้าประกวดแข่งขันทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศหลายรายการ ส่งผลให้โรงเรียนบางซ้ายวิทยามีชื่อเสียงเป็นที่โดดเด่นทั้งในจังหวัด ภูมิภาค และระดับชาติ
จากแนวคิดที่กล่าวมา ได้นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเท เอาใจใส่ต่อผู้เรียนอย่างจริงจังในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้นักเรียนมีผลงานดีเด่นอย่างมากมาย จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้าได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้แม่แบบการสอนอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ประจำปี ๒๕๕๔ ผู้ผลิตสื่อวีดิทัศน์ดีเด่น จากเขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา เป็นครูภาษาไทยที่มีผลงานเป็นผู้นำการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลงานดีเด่นระดับชาติ กล่าวคือ เป็นผลงานที่เสนอขอรับการประเมินคือผลงานที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาการสอน วิชา ภาษาไทย ผ่านการประเมิน โดยใช้เกณฑ์ของคุรุสภา ซึ่งถือเป็นองค์กรกลางของครู เป็นเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันทั้งประเทศผลของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์กับผลงานระดับชาติได้และมีความรู้และข้าพเจ้าได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องแบบยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน
๔. การเป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข้าพเจ้าได้ปรับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้ตามปกติ เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งนับเป็นทักษะการปฏิบัติงานที่โดดเด่นแตกต่างจากครูผู้สอนท่านอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การเรียนรู้จากสื่อ นวัตกรรม และเน้นการปฏิบัติจริง เด็กไม่เบื่อหน่ายในการเรียนได้นำโครงงานที่สร้างสรรค์สู่กระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการการอ่านและการทำงานโดยใช้ทักษะปฏิบัติจริงและการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิตและนำมาใช้ปลูกฝังให้นักเรียนได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต จัดทำเป็นเอกสารประกอบการเรียนออนไลน์
จำนวน ๕ เรื่องประกอบด้วย
เรื่องที่ ๑ สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า
เรื่องที่ ๒ บทละคร เรื่อง เห็นแก่ลูก
เรื่องที่ 3 อันของสูงแม้ปองต้องจิต
เรื่องที่ ๔ นิราศนรินทร์
เรื่องที่ ๕ ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง
ประกอบกับประกอบรูปแบบการสอน และคู่มือการใช้สื่อนำเรื่องตามรูปแบบ เพื่อพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนภาษาไทยด้วยความสนใจและถนัดซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ข้าพเจ้าสอนมาแล้วจึงพัฒนาต่อยอดจากระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรากฏและยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครอง ชุมชน และเป็นผลของการอุทิศตน แรงกาย แรงใจ สติปัญญา ประสบการณ์ และความสามารถพิเศษเฉพาะตน เพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพครู สามารถสร้างองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเอง และมีความรู้แบบยั่งยืนส่งผลให้ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้มีผลงานดีเด่นยอดเยี่ยม ด้านการพัฒนา สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นครูเกียรติยศ ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ครูรักการอ่านยอดเยี่ยม ปี ๒๕๔๙ และ รางวัล “คุรุสดุดี” ปี ๒๕๕๒ จากประวัติการทำงานและผลงานที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอน วิชา ภาษาไทย มาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นความภาคภูมิใจในฐานะของครูผู้สอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ เป็นผู้สร้างสรรค์ปคุณธรรมนำปัญญานำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง
๕. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการ และวิชาชีพ
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารโรงเรียน แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มบริหารทั่วไปและชุมชน เป็นผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังได้มีบทบาทเป็นคณะกรรมการของโรงเรียนหลาย ๆ เรื่อง เช่น หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่ผู้เข้าอบรมต่างๆดังนี้
- เป็นวิทยากรให้การอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพครู เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน การสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน การผลิตสื่อออนไลน์ชนิดต่างๆ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
- วิทยากรการประชุมปฏิบัติการพัฒนาครูแกนนำ ครูต้นแบบ พัฒนาครูในโครงการส่งเสริมการอ่าน ตลอดมา เกือบทุกปีการศึกษา
จากการที่ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาการอย่างเข้มแข็ง เต็มเวลา เต็มความสามารถ ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้มีผลงานดีเด่นในสหวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ครูต้นแบบรางวัลครูเกียรติยศ ครูแม่แบบการสอนอ่าน ฯลฯ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการในระดับชาติทั้งสิ้น ทั้งนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูต้นแบบ วิทยากรการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโรงเรียนในฝัน ตลอดจนได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้และประสบการณ์แก่คณะครูในโอกาสต่างๆ เสมอมา
๖. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้
จากการปฏิบัติกิจกรรมด้านการสอนและการเป็นผู้นำในการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิเศษคือดูแลนักเรียนที่มีฐานะยากจน ที่ปรึกษาเด็กพิเศษ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง นอกจากงานสอนแล้วยังรับผิดชอบงานอาคารสถานที่และงานบริหารทั่วไป จัดตกแต่งอาคารเรียน สวนหย่อม และมุมสวนต่างๆตลอดจนอาคารและบริเวณโรงเรียนให้สวยงาม กำกับดูแลคนงานเจ้าหน้าที่ดูลแต้นไม่ให้ร่มรื่น ให้เป็นสถานที่น่าอยู่น่าทำงานเอื้อต่อการเรียนการสอนของคณะครูในโรงเรียนและรองรับการประเมินจากสมศ.ในรอบที่ 2 และ 3 พร้อมทั้งรับการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทานถึง ๒ ครั้งซึ่งได้รับคำชมเชยในระดับดีมาก งานที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้างานประกันคุณภาพที่ต้องควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินคุณภาพภายในอยู่เสมอส่งผลให้โรงเรียนบางซ้ายวิทยาผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีโรงเรียนต่างๆเข้ามาขอศึกษาดูงานการพัฒนางานด้านต่างๆของโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้าน การพัฒนาสื่อ ห้องเรียนอิเล็กทรอนิคส์ ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ
บทเรียนที่ได้รับ เคล็ดลับที่ดำเนินงานได้ประสบผลสำเร็จ
๑. การให้ความรู้โดยไม่ปิดบังและการดูแลเอาใจใส่ทำงานคลุกคลีเคียงบ่าเคียงไหล่ไปพร้อมกับนักเรียน โดยการเตรียมพร้อมในการผลิตสื่อ เตรียมการสอน และฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีมจนมีผลงานสำเร็จมีคุณภาพเกิดความภาคภูมิใจ
๒. การใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อน ให้คำแนะนำ ตักเตือนและสอน ฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ และขยายผลต่อไปได้อย่างถูกต้อง
๓. ฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และทำงานตามจินตนาการ
๔. การเป็นคนดีมีคุณธรรม และนำความรู้ไปใช้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติมีความซื่อสัตย์สุจริต สร้างจิตสำนึกให้นักเรียนเป็นบุตรหลานที่ดี รู้จักทำมาหากิน ประหยัดอดออม รู้จักคุณค่าของสิ่งที่หามาได้และใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
๑. ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น อดทนทำงานจนสำเร็จ
๒. นักเรียนมีความรัก ความผูกพัน มีความสามัคคีกันเป็นหมู่คณะ
๓. นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีกระบวนการคิด กระบวนการทำงานที่ดี เป็นผู้นำเสนอผลงานเพื่อผู้อื่นในสังคมผ่านสื่อสังคมออนไลน์
๔. ได้รับประสบการณ์ตรง มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการและมีทักษะในการปฏิบัติงาน ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม
๕. ลดปัญหานักเรียนออกกลางคัน
๖. นักเรียนไม่เข้าร้านเกมชอบมาโรงเรียนมากขึ้น เล่าเรียนอย่างมีความสุข
๗. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๘. นักเรียนสามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดีตามหลักประชาธิปไตย
๙. ยึดคำสั่งสอนของข้าพเจ้าเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในอนาคต
๑๐. ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตจากการอ่านวรรณกรรมวรรณคดี
๑๑. นำเสนอผลงานต่อสาธารณชนได้อย่างน่าชื่นชมและเกิดความภาคภูมิใจ
๑๒. นักเรียนแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนและน้อง ๆ ในโรงเรียนและขยายผลสู่ผู้สนใจ
๑๓. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
๑๔. นักเรียนห่างไกลอบายมุข และยาเสพติด
๑๕. นักเรียนรู้จักคุณค่าของเวลา รักการอ่าน การเขียนการค้นคว้าหาความรู้
ผลที่เกิดต่อผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม
๑. นักเรียนนำผลงานไปขยายผลสู่ผู้ปกครองและชุมชนทั้งการพูดคุยและวารสาร
๒. ชุมชนเข้มแข็งเพราะเด็กและเยาวชนเป็นคนดี ไม่มั่วสุมหรือยุ่งเกี่ยวกับ ยาเสพติด
๓. แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง เรื่อง การใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย ในกรณีสามารถใช้สื่อที่ทันสมัยในห้องเรียนที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบได้
๔. สร้างจิตสำนึกให้บุตรหลานรู้จักนำความรู้ด้านการสื่อสารทางภาษามาสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต
๕. ครอบครัวอบอุ่นมีความรักความสามัคคีต่อกันและเกิดความภาคภูมิใจในสถานศึกษาที่อยู่ท้องถิ่นของตนเอง
ผลที่เกิดกับผู้บริหารและสถานศึกษา
๑. สร้างชื่อเสียงในด้านผลงานดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นศูนย์พัฒนาการการสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
๒. ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ. พระนครศรีอยุธยา มอบสื่อ นวัตกรรม ห้องเรียนอิเล็กทรอนิคส์ ให้ครูผู้สอนและนักเรียนใช้ประกอบการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระ โดยข้าพเจ้าเป็นผู้จัดทำโครงการนำเสนอรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ และเป็นครูต้นแบบที่ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จ เป็นตัวอย่างแก่ครูกลุ่มสาระอื่น ๆ ทุกกลุ่มสาระ
ผลที่เกิดกับครูผู้สอนในสถานศึกษา
ข้าพเจ้าเป็นครูผู้สอนที่ได้อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างสูงสุด ใช้ความรู้ความสามารถทั้งประสบการณ์และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีความก้าวหน้าในด้านวิชาการ ได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ และได้ให้การนิเทศแนะนำในฐานะครูต้นแบบของโรงเรียนส่งผลให้ครูโรงเรียนบางซ้ายวิทยา ได้เลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษเพิ่มเป็นจำนวนมาก
๗. ผลที่เกิดจากการนำผลงานรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น คุรุสภา”
ประจำปี ๒๕๔๐ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไปใช้
จากความมุ่งมั่นของข้าพเจ้าในการพัฒนานักเรียนให้มีความเจริญก้าวหน้า และ การดำเนินงาน โดยมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ เป้าหมายที่เป็นจริง สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน ยึดมั่นในการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในหลักศีลธรรมจรรยาบรรณ ประสานความร่วมมือกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง จัดการเรียนการสอนและจัดการศึกษาในกิจกรรมของโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และมาตรฐานวิชาชีพ วิทยฐานะ ด้วยความมุ่งมั่น มีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ และเสียสละตลอดจนใช้เทคนิควิธีการสอนต่าง ๆ ในการวางแผนปฏิบัติงาน ตลอดจนการดำเนินงานตามหลักการบริหารงานคุณภาพ ( PDCA) เพื่อให้ทุกงานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีคุณภาพ นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนมีความสุข ส่งผลให้โรงเรียนบางซ้ายวิทยา ประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะ มีผลงานด้านทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนเป็นที่น่าภาคภูมิใจ มีผลงานของนักเรียนสืบทอดมาทุกรุ่น ซึ่งได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ได้รับการยกย่องในความสำเร็จของนักเรียนในการใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน จนได้รับชื่อเสียงทำให้มีคณะศึกษาดูงานหลายคณะทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดมาเยี่ยมชมผลงานพร้อมทั้งกล่าวชื่นชมในความสำเร็จของผลงาน
๘. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
แนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่ได้จัดทำสื่อออนไลน์จากเว็บไซด์ที่ข้าพเจ้าจัดทำและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน คือ
www.kruthai40.com
www.youtube.com/kruthai
นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา นวัตกรรม “การสอนอ่านเพื่อชีวิตและสังคม” โดยใช้สื่อออนไลน์ประกอบการอ่านเพื่อพัฒนาผู้เรียนในอนาคต ที่มีชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องพัฒนาต่อยอดจากการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่ทำสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นข้าพเจ้ามุ่งมั่นที่พัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม โดยใช้สื่อประสมออนไลน์ให้สำเร็จอีกครั้ง ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๙ นี้
ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ ให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ จัดการเรียนการสอนด้วยระบบคุณธรรม รักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยหลักการและเหตุผล ให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อสถานศึกษา ดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์กร อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี
ประจำปี ๒๕๕๒ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
๑. สภาพปัญหาแนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
เนื่องจากรางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เกินห้วงกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ. กำหนด จึงขอแสดงให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มรับราชการจนกระทั่งระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ ดังนี้
ด้วยปัญหาของการเรียนการสอนเรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านวุฒิปัญญาซึ่งอาจส่งผลถึงการสร้างความเข้าใจเนื้อเรื่องในขณะอ่านทำให้ไม่เกิดความคิดในเชิงวิจารณญาณได้ด้วยตนเองจากการวิจัยของ สุรินทร์ ยิ่งนึก ( ๒๕๔๐ ) ที่ได้ทำการวิจัยเชิงทดลองซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วรรณคดี เรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของโรงเรียนบางซ้ายวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๓๙ จำนวน ๑๒๐ คน ซึ่งได้จากตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น ๑๖๐ คน ในขั้นแรกผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบวัดวุฒิปัญญา ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ ของ Binet & Wechsler ซึ่งปรับใช้กับภาษาไทยโดย สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ ( ๒๕๓๑ ) เพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษา จากนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มี ระดับวุฒิปัญญาสูง ๔๐ คน วุฒิปัญญาปานกลาง ๔๐ คน ระดับวุฒิปัญญาต่ำ ๔๐ คน แล้วจึงแบ่งนักเรียนทั้ง ๓ ระดับ เป็น ๒ กลุ่ม ๆ ละ ๖๐ คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายให้แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วยระดับวุฒิปัญญาสูง ๒๐ คน ระดับวุฒิปัญญาปานกลาง ๒๐ คน ระดับวุฒิปัญญาต่ำ ๒๐ คน จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ให้กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณเรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ตามรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด และให้กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุม อ่านวรรณคดีโดยไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน ต่อจากนั้นผู้วิจัยจึงให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แล้วตรวจผลการสอบ รวบรวมคะแนนมาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐานของการวิจัย และข้อค้นพบอื่น ๆ ด้วยการหาค่าเฉลี่ยของคะแนน ( ) ค่าความแปรปรวน ( ) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการทดสอบค่า t ( t - test ) แบบ Independent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มทดลอง ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง
แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาสูงที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน ไม่แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาสูงที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาปานกลาง ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาปานกลาง ที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาต่ำ ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง ในการอ่าน แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาต่ำ ที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับ การใช้วิธีการนำเรื่องในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ตามความสามารถทางภาษา ผลการวิจัย สรุปได้ว่า การนำเรื่องที่ใช้ในกลุ่มทดลองส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาต่ำ ต้องการวิธีการนำเรื่องที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือก่อนการอ่าน หรือการศึกษาข้อความที่มีรายละเอียดมาก ๆ ส่วนกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาสูงจะรับความรู้ใหม่ได้โดยความสามารถที่มีอยู่ในตัวเอง การนำเรื่องจะมีอิทธิพลน้อยกว่า ( Ausubel and Fitzgerald ๑๙๖๑ : ๒๖๖ – ๒๗๘ ; ๑๙๖๒ : ๒๔๓ - ๒๔๙ ; Maher ๑๙๗๕ : ๒๖๑๖ - A ; Lawton ๑๙๗๗ : ๒๕ - ๔๓ )
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงต้องการศึกษาผลของการใช้ รูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่เกิดขึ้นภายในสมองของผู้เรียนแต่ละคน และมุ่งเน้นการใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่วิจัยและพัฒนาขึ้นทั้งนี้จากผลการวิจัยเมื่อ ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ( สุรินทร์ ยิ่งนึก : ๒๕๔๐ ) ทำให้ผู้วิจัยเชื่อมั่นว่า นักเรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนี้เป็นเพราะสื่อนำเรื่องก่อนการอ่านจะช่วยในการปรับโครงสร้างระบบความคิดให้เท่าเทียมกัน หรือให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ตามกระบวนการเรียนรู้ เช่น กระบวนการกลุ่ม ที่ต้องอภิปรายแสดงความคิดเห็น กระบวนการเรียนรู้ความคิดรวบยอด กระบวนการเรียนรู้ภาษา ฯลฯ จะราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รวมทั้งการผลิตสื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมุ่งหวังพัฒนารูปแบบการสอนที่ตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษา ขั้นตอนการสร้างรูปแบบการสอน ความรู้เรื่องกระบวนการคิดและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การใช้สื่อนำเรื่อง เพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นสื่อนำเรื่องประเภทหนึ่งที่ครูสามารถจัดเตรียมผลิตและจัดหาได้ไม่ยากนัก เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยต่อไป
๒. วิธีการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ รายวิชา ท ๔๐๒๑๐ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ประกอบด้วยขั้นตอนการวิจัย ๒ ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างรูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน มีขั้นตอนย่อย ดังนี้
ขั้นที่ ๑ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๒ การสร้างรูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๓ การจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๔ การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบ
รูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๕ การทดลองนำร่อง
ขั้นที่ ๖ การแก้ไขปรับปรุง
ขั้นตอนที่ ๒ การทดลองใช้รูปแบบการสอน มีขั้นตอนย่อย ดังนี้
ขั้นที่ ๑ การจัดเตรียมนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ ๒ การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ ๓ การดำเนินการทดลอง
ขั้นที่ ๔ การวิเคราะห์ข้อมูล
ดังจะกล่าวตามลำดับขั้นตอนแต่ละขั้น ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างรูปแบบการสอนและการจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบ
การสอน มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
ขั้นที่ ๑ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการสอน โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลดังนี้
๑.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอน
๑.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระดับของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่าน เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน
๑.๓ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อนำเรื่องในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ผลการวิจัยเชิงทดลองของ นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ( 2540 ) เรื่องผลการใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อนำมาพัฒนาสื่อนำเรื่องประกอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑.๔ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อ
นำมาใช้ในการกำหนดองค์ประกอบรูปแบบการสอน ในการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยต่าง ๆ นำมาศึกษาวิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญเพื่อนำมาใช้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน
๑.๕ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในวิชาภาษาไทย
ที่เกี่ยวกับการอ่าน และวิเคราะห์หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
๑.๖ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาการสอนด้านภาษาไทย โดยได้ศึกษาจากข้อมูลผลการวิจัย รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาไทย รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา ของกรมวิชาการ ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาการสอนภาษาไทย ระดับต่าง ๆ เทียบเคียงกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนของผู้วิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๒ การสร้างรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นรูปแบบการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นโดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่านวรรณกรรม ทฤษฎีการจัดระบบโครงสร้างความคิดล่วงหน้า ( Advance Organizers ) ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ในการสร้างรูปแบบการสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
๑. นำข้อมูลสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั้งในด้านทฤษฎี
และแนวคิดมาพิจารณา
๒. กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย
เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล รวมทั้งเขียนอธิบาย
รายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ จัดเรียบเรียงลำดับองค์ประกอบ เพื่อจัดทำรูปแบบการสอน
ฉบับร่าง
๓. เมื่อได้รูปแบบการสอนฉบับร่างแล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพจากครูผู้สอนวิชา
ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒
ขั้นที่ ๓ การจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน
เป็นการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นคำอธิบายรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้น เอกสารประกอบรูปแบบการสอน ประกอบด้วย
๑. คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอน เพื่อให้ครูผู้ใช้รูปแบบการสอนมีความเข้าใจและ
สามารถนำรูปแบบการสอนไปใช้ได้ ในเอกสารกล่าวถึงสิ่งที่ครูต้องศึกษา วิธีการปฏิบัติ การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในรูปแบบการาสอน
๒. แผนการสอนเป็นเอกสารสำหรับครูผู้สอน ผู้วิจัยได้กำหนดให้มีองค์ประกอบต่าง ๆ
ครบถ้วนสอดคล้องตามหลักการของรูปแบบการสอน ประกอบด้วย แนวคิดสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์และการวัดผลประเมินผล
ในการจัดทำแผนการสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๑. พิจารณาหลักการ องค์ประกอบของรูปแบบการสอน เพื่อนำมาสร้างแผนการสอนให้
สอดคล้องเหมาะสม
๒. ศึกษาทฤษฎีการจัดระบบโครงสร้างความคิดล่วงหน้า การใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่าน
วรรณกรรม เพื่อนำมากำหนดเป็นกรอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
๓. เรียบเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความสอดคล้อง
กับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการของรูปแบบการสอนเป็นสำคัญ
๔. เขียนแผนการสอน และตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมเพื่อให้ได้แผนการสอนที่
สมบูรณ์ ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ หลักการ องค์ประกอบของรูปแบบการสอนแผนการสอน
ที่จัดทำขึ้น จำนวน ๕ แผน ใช้เวลา ๑๔ คาบเรียน โดยใช้เนื้อหาในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ในแผนการสอนใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
ขั้นที่ ๔ การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ดำเนินการดังนี้
๑. การสร้างเครื่องมือประเมินรูปแบบ และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ๑ ฉบับ มี
ขั้นตอนการสร้างดังนี้
๑.) กำหนดจุดประสงค์การประเมิน
๒.) ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมิน และกำหนดรูปแบบการประเมิน
๓.) สร้างแบบประเมิน แบบจัดอันดับคุณภาพ ๔ มาตรา มีเนื้อหา
ครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการสอน
และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน และมีคำถามปลายเปิด เพื่อให้
ผู้ประเมินได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะเพิ่มเติม
๔.) นำแบบประเมินไปให้ครูผู้สอน จำนวน ๕ คน อ่านพิจารณาด้านภาษา
และความเป็นปรนัย
๕. ) นำแบบประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข
๒. นำรูปแบบการสอน จำนวน ๑ ฉบับ เอกสารประกอบรูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอน จำนวน ๑ ฉบับ แผนการสอน จำนวน ๕ แผนไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ท่าน พิจารณาตรวจสอบด้วยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
๓. วิเคราะห์ผลจากแบบประเมินเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน
ขั้นที่ ๕ การทดลองนำร่อง
ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอนที่ได้ผ่านการตรวจสอบแล้วมาปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ไปทดลองสอนในสถานการณ์จริง กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ เพื่อตรวจสอบดูว่ารูปแบบการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการสอนที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใด
ในการทดลองนำร่อง ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
๑. สอนด้วยแผนการสอน ๕ แผนที่จัดทำขึ้น เรื่อง เห็นแก่ลูก กาพย์เห่ชมเครื่อง
คาวหวาน อันของสูงแม้ปองต้องจิต ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง นิราศนรินทร์
๒. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และสรุปผล
๓. ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่ใช้นำข้อมูลที่ได้
มาวิเคราะห์ สรุปผลนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนารูปแบบการสอน
๔.นำข้อมูลจากการทดลองนำร่องทั้งหมดไปใช้ปรับปรุงรูปแบบการสอนและแผนการสอนให้สมบูรณ์ต่อไป
ขั้นที่ ๖ การแก้ไขปรับปรุง รูปแบบการสอนและเอกสารประกอบการสอนและเอกสารประกอบ
รูปแบบการสอน
ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำร่องมาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบการสอน และเอกสารประกอบการสอนฉบับสมบูรณ์
การทดลองใช้รูปแบบการสอนเป็นการนำแผนการสอน ๕ บทเรียนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ที่สร้างขึ้นตามหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อศึกษาดูว่ารูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ โดยได้ใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบางซ้ายวิทยาทั้งหมด จำนวน ๑๓๔ คน ๔ ห้องเรียน เมื่อสอนแต่ละเรื่องครบตามเวลาที่ระบุไว้ในแผนการสอนได้นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ เพื่อหาประสิทธิภาพการสอน โดยการหาค่า C.V. และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยการหาค่า t – test และให้นักเรียนทุกคนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และแปลความหมายบอกระดับความคิดเห็น ตามข้อเสนอของ John W. best (๑๙๘๑: ๑๔๗)
๓.การส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ ๕ ประการ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รูปแบบการสอนขั้นตอนแรก เน้นการใช้สื่อนำเรื่องเพื่อจัดระบบโครงสร้างความคิดนักเรียน เข้าสู่เรื่องที่อ่าน โดยมีการศึกษาประวัติผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง เนื้อเรื่องย่อ ขั้นตอนที่สอง ปฏิบัติกิจกรรมการอ่าน โดยใช้สื่อเพื่อศึกษาและตีความ คำศัพท์ ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ปรากฏในเรื่องพร้อมทั้งจับใจความสำคัญ และขั้นสุดท้ายของรูปแบบการสอนอ่าน คือ ทบทวนด้วยปัญญาและเหตุผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ลักษณะนิสัยตัวละคร หรือ วิเคราะห์ วิจารณ์ การนำเสนอความคิด และ รสแห่งวรรณศิลป์ บอกคุณค่าจากการอ่านวรรณคดี โดยกระบวนการเรียนรู้ เน้นทฤษฎีการเรียนรู้ ๕ เรื่อง คือ การเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้จากการคิดปฏิบัติจริง การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น การเรียนรู้แบบองค์รวม การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง สำหรับเอกสารประกอบรูปแบบการสอน มีส่วนประกอบ คือ คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอนและแผนการสอน ๕ แผน สื่อนำเรื่องที่ใช้ในแผนการสอน แบบทดสอบ เฉลยแบบทดสอบ
๔. เป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เป็นผลงานที่มุ่งเพิ่มผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ทุกเรื่องที่ทดลองใช้รูปแบบการสอน
๕. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการ และวิชาชีพ
ผลงานการวิจัยเป็นที่ยอมรับของทุกระดับ เพราะงานวิจัยสามารถตอบโจทย์ได้ตรงประเด็นโดยนักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด รายการประเมินที่ระบุว่า รูปแบบการสอนที่ใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนี้ มีคุณค่า น่าสนใจ ส่งเสริมความใฝ่รู้ และพบว่ามีระดับความเห็นมาก ทุกรายการประเมิน ตามลำดับดังนี้ คือ ช่วยให้การเรียนรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิต มีประโยชน์ต่อการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่านตอบสนองความต้องการของนักเรียน สื่อนำเรื่องช่วยลำดับเนื้อหาตามเนื้อเรื่อง ช่วยให้จำคำศัพท์สำนวนภาษาในเรื่องได้ดีขึ้น นักเรียนมีโอกาสฝึกกระบวนการคิดด้วยตนเอง คุณภาพของภาพตัวอักษรที่ใช้เหมาะสม สื่อนำเรื่องช่วยสร้างจินตนาการกระตุ้นให้เกิดความคิดในเชิงเหตุผลได้ดี และสื่อนำเรื่องช่วยให้การตีความเรื่องที่อ่านและความรู้สึกของกวีได้ดี
๖. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้
การจัดทำสื่อ นวัตกรรมโดยมีการวิจัยและพัฒนา นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ท่ล้ำยุคในขณะนั้นซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูที่ยั่งยืน เพราะเน้นการพัฒนาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างเป็นเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างถาวร เข้าถึงครูได้อย่างรวดเร็วเป็นการสร้างแบบอย่างที่เป็นรูปธรรม
๗. ผลที่เกิดจากการนำผลงานไปใช้
ข้าพเจ้าได้นำแนวความคิดจากการวิจัยมาเพื่อการจัดการศึกษาที่ยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปจากเดิม ที่ครูคุ้นเคยกับการบอกความรู้และนักเรียนเคยชินกับการรับ และจำความรู้ การเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นจะต้องพัฒนาครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ยอมรับ ตระหนักในความสำคัญและผนึกกำลัง กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
๘. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
แนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่จะนำสื่อออนไลน์จากเว็บไซด์ที่ข้าพเจ้าจัดทำและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน คือ
www.kruthai40.com www.youtube.com/kruthai
นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา นวัตกรรม “การสอนอ่านเพื่อชีวิตและสังคม” โดยใช้สื่อประกอบออนไลน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในอนาคต ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องพัฒนาต่อยอดจากการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙
ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ ให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ จัดการเรียนการสอนด้วยระบบคุณธรรม รักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยหลักการและเหตุผล ให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อสถานศึกษา ดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์กร อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
ผลงานดีเด่นที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป
“บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้” รางวัลครูเกียรติยศ ปี ๒๕๔๕
ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑. สภาพปัญหา แนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงาน “บุคลากรต้นแบบการปฏิรูป
การเรียนรู้” ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เนื่องจากรางวัลที่ได้รับ คือ “บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้” ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเกินห้วงกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ. กำหนด จึงขอแสดงให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มรับราชการจนกระทั่งระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๙ ดังนี้
๒๕๓๗ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูโสตทัศนศึกษาดีเด่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ครูโสตทัศนศึกษาดีเด่น เขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๐ ได้รับโล่ การประกาศเกียรติคุณ“ครูภาษาไทยดีเด่น” ระดับ มัธยมศึกษา ประจำปี ๒๕๔๐จากคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
๒๕๔๑ ได้รับรางวัล สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ประกอบการเรียนการสอนดีเด่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๑ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูแม่แบบการสอนภาษาไทย สาขา การสอนอ่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเขตการศึกษา ๖ กรมสามัญศึกษา
๒๕๔๒ ได้รับการคัดเลือกเป็นครูดีเด่น สหวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา ๔
๒๕๔๒ ได้รับการเชิดชูเกียรติ "บุคคลดีเด่น" ประจำปี ๒๕๕๒ สาขาครูปฏิบัติการสอนดีเด่น จากหนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ
๒๕๔๓ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ "ผู้สร้างสรรค์คุณประโยชน์ด้านการศึกษา ประจำปี ๒๕๔๓ สาขา อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางด้านภาษา" จาก หนังสือพิมพ์เส้นทางผู้นำ
๒๕๔๕ ได้รับรางวัล เกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ ครูเกียรติยศ ( Teacher Award ) บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ( ครูต้นแบบ วิชา ภาษาไทย) จากกระทรวงศึกษาธิการ
๒๕๔๘ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เข็มเชิดชูเกียรติ จาก มูลนิธิเพชรภาษาเป็น “ครูภาษาไทยประกายเพชร” ได้รับการเสนอให้เป็นผู้บรรยายนำเสนอผลงานวิจัยและ เผยแพร่ สื่อ นวัตกรรม กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา แก่ครูภาษาไทยที่ร่วม สัมมนาจากทั่วประเทศ
๒๕๔๙ ได้รับรางวัล “ครูรักการอ่านยอดเยี่ยม” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่ความรู้ทางอินเทอร์เน็ต ใน “โครงการเครือข่ายเยาวชนสร้างเสริมคุณธรรมนำปัญญาจากการอ่าน”
๒๕๕๒ ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒จากคุรุสภา มีผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้เด่นชัดที่สุด เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน และเป็นผลของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ วิชาชีพครูอย่างสูง เป็นครูภาษาไทยที่มีนวัตกรรม มุ่งมั่นทุ่มเทเป็นผู้นำและสั่งสอนศิษย์ให้ใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ร่วมอนุรักษ์และดำรง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ใฝ่รู้รักการอ่าน เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสาน สืบทอด เอกลักษณ์ของชาติด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู
๒๕๕๔ ครูดีเด่น อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๕๕๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติสดุดี
"หนึ่งแสนครูดี" ตามรอย.... พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน"
๒๕๕๕ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น "เกียรติภูมิครุ จุฬาฯ"
จากสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๕๗ ได้รับเกียรติบัตรยกย่องในการนำเสนอรูปแบบการสอนโดยใช้หลักไตรสิกขา
เป็นฐาน ใน “โครงการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครูภาษาไทยประกายเพชร”
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ตามรอยพระยุคลบาท “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
๒๕๕๙ เกียรติบัตร ยกย่องเชิดชูเกียรติในความรู้ความสามารถในเชิง ภาษาไทย เป็น
ผู้ประพันธ์ คำขวัญวันครู “ยอดเยี่ยม” ของสถานศึกษา เนื่องในวันครูแห่งชาติ
(ครั้งที่ ๖๐) ประจำปี ๒๕๕๙
การศึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพและมีความสามารถเต็มตามศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมอย่างสมดุล คนจึงจะสามารถเป็นกลไกเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงให้สังคมประเทศได้ กระบวนการศึกษาของไทยจึงกำหนดคุณลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค์ของสังคมในอนาคตให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการศึกษาค้นคว้า มีทักษะในการแสวงหาความรู้และรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์
การปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาครูแกนนำ ครูต้นแบบ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานฯ เมื่อพัฒนาตนเองด้านการผลิตและวิจัยสื่อนวัตกรรม ผ่านการประเมินที่มีมาตรฐานระดับประเทศ สอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการใช้หลักสูตร จนเป็นครูต้นแบบของ ศธ.มีครูเครือข่ายที่ประสพความสำเร็จในการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นต้นแบบที่ดีของเพื่อนครูในสถานศึกษาเดียวกันและต่างสถานศึกษา มีผลงานการพัฒนาการเรียนรู้จนเป็นที่ประจักษ์
การปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนนั้น ความฝันอันสูงสุดในชีวิตคือ การได้รับรางวัลอันมีเกียรติยศสูงยิ่ง คือการได้รับรางวัลในระดับชาติ ซึ่งเป็นรางวัลที่ทุกคนทราบดีว่าหากได้รับแล้วจะถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติยศที่ต้องรักษาและพัฒนางานต่อยอด เนื่องจากรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้นั้น เป็นรางวัลของคุณครูผู้ที่มุ่งมั่นจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นข้าราชการครู ที่ได้รับเกียรตินี้มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะตอบแทนแผ่นดิน ด้วยการตั้งใจปฏิบัติงานในหน้าที่คือการบริหารจัดการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เพิ่มปริมาณคนดีในสังคมให้มากขึ้น สร้างเยาวชนที่มีคุณภาพในการศึกษาเล่าเรียน มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต สร้างงานอาชีพของผู้เรียนให้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะไปประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำความดีต่อไปโดยไม่ย่อท้อ ภาคภูมิใจในเกียรติที่ได้รับและสร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล
๒. วิธีดำเนินการจัดทำผลงานรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนและขยายเครือข่ายครูแกนนำ จนผ่านการประเมินเป็นครูต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลเป็นที่ประจักษ์นั้น ต้องอาศัยความใฝ่รู้ รักการค้นคว้า รักการอ่านและตั้งใจที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เสียสละอุทิศเวลาโดยยึดถือประโยชน์ของสถานศึกษาเป็นสำคัญ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งบุคลากรในโรงเรียน ชุมชน ต้นสังกัด ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เอาใจใส่ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย
เทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางซ้ายวิทยานั้น ข้าพเจ้าได้ศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกในการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ข้าพเจ้าพบว่าการจัดการเรียนการสอน ตามหลักการของเดมมิ่ง (Dr. William Edwards Deming) เป็นเทคนิควิธีการ ที่ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำเทคนิควิธีดังกล่าวมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
การบริหารตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)
Dr. William Edwards Deming เป็นนักสถิติ ชาวอเมริกัน ผู้ค้นคิดสูตร การบริหารจัดการหลักการที่เป็นที่เลื่องลือก็คือวงจร PDCA (Plan วางแผน - Do ทำ - Check/Studyตรวจดูผล - Act แก้ไขปรับปรุง) หรือเรียกกันว่า เดมมิ่งไซเคิล นั่นเอง ซึ่งสาระสำคัญของวงจรเดมมิ่ง กล่าวถึงการดำเนินการควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานอาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนนี้มีการดำเนินการดังนี้
๑. ตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยสมาชิกแต่ละคนร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด ในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้น ในการดำเนินงาน เพื่อที่จะร่วมกันทำการศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขต่อไป
๒. เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงาน หรือหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งควรจะวางแผนและดำเนินการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบเข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน เช่น ตาราง ตรวจสอบ แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบสอบถาม เป็นต้น
๓. อธิบายปัญหาและกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ปัญหา เพื่อใช้กำหนดสาเหตุของความบกพร่อง ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนิยมใช้วิธีการเขียนและวิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนภาพ เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุม เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกคน ในทีมงานคุณภาพเกิดความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาอย่างชัดเจน แล้วร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm) ในการแก้ปัญหา โดยสร้างทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อมาทำการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินงาน
๔. เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน โดยร่วมกันวิเคราะห์ และวิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ผ่านการระดมความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินงาน ให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะต้องทำวิจัยและหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือกำหนดทางเลือกใหม่ที่มีความน่าจะเป็นในการแก้ปัญหาได้มากกว่าเดิม
Do หมายถึง การดำเนินการตามแผนอาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับการดำเนินการ (เช่นคณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการ มีการจัดการเรียนการสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ(เช่นรายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
Check หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วยการประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยใน การประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผนหรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีต่อไป
ดังนั้น วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ก็คือวิธีการที่เป็นขั้นตอนในการที่ทำให้งานเสร็จอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือวางใจได้ โดยการใช้วงจร PDCA เป็นเครื่องมือการทำงานอย่างต่อเนื่องใน การติดตามปรับปรุงพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมาย
ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้
๑. การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริง การวางแผนงานควรวางให้ครบ ๔ ขั้น ดังนี้
๑.๑ ขั้นการศึกษา คือการวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน เป็นต้น
๑.๒ ขั้นเตรียมงาน คือการวางแผนเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ เป็นต้น
๑.๓ ขั้นดำเนินงาน คือการวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิตฝ่ายขาย ฝ่ายโฆษณา เป็นต้น
๑.๔ ขั้นการประเมินผล คือการวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากคำติชมของลูกค้า หรือประเมินจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดความเที่ยงตรง
๒. การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียบร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
๓. การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย
๓.๑ ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
๓.๒ มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
๓.๓ มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
๓.๔ มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
๓.๕ บุคลกรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อ การตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงาน ขั้นต่อไปก็ดำเนินต่อไปได้
๔. การปรังปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ
จากการนำเทคนิคPDCA มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางซ้ายวิทยาจึงพัฒนางานด้านทักษะการใช้ภาษาไทย รุดหน้าไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนไม่มีใครรับภาระจนหนักเกินไป ทุกคนทำงานร่วมกัน และสั่งสมความชำนาญงานจนเป็นที่ยอมรับของสังคมว่าบุคลากรของโรงเรียนบางซ้ายวิทยาเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความรู้ ความสามารถ ศึกษาหาความรู้และเทคนิควิธีการบริหารการศึกษาให้มีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน อย่างไม่ย่อท้อเป็นระยะเวลา ๓๔ ปี ข้าพเจ้าเข้ารับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ คุณสมบัติในการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ ของ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นรางวัลที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ซึ่งองค์กรระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กำหนด สามารถจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยรวม
๓. การส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เมื่อพัฒนาตนเองด้านการผลิตและวิจัยสื่อนวัตกรรม ผ่านการประเมินที่มีมาตรฐานระดับประเทศ สอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการใช้หลักสูตร จนเป็นครูต้นแบบของ กระทรวงศึกษาธิการ.มีครูเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นต้นแบบที่ดีของเพื่อนครูในสถานศึกษาเดียวกันและต่างสถานศึกษา มีผลงานการพัฒนาการเรียนรู้จนเป็นที่ประจักษ์
๔. การเป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมการใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่านวรรณกรรม โดยให้เหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล ใช้สื่อวีดิทัศน์ โทรทัศน์สู่ห้องเรียน เป็นวิทยากรแกนนำผลิตสื่อการสอนต่างๆ มุ่งสอนศิษย์ให้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติการเรียนรู้จริงเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน ๔ – ๕ คน ประกอบด้วย คนเก่ง ปานกลางและอ่อนคละกันไป ฝึกฝนให้นักเรียนขยันใฝ่หาความรู้ รักการอ่าน รักการเขียน มีความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบสื่อเพื่อนำเสนอ การจัดทำโฮมเพ็จ เว็บไซด์ ทั้งนี้ได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมควบคู่ไปด้วยเสมอมา
๕. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการ และวิชาชีพ
ผลงานดีเด่นที่ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับรางวัล “บุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ” เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการและวงวิชาชีพ ทั้งนี้เพราะได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู-อาจารย์ที่มีผลงานดีเด่นที่เป็นสมาชิกครูเครือข่าย พัฒนาเครือข่ายของตนเองด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในลักษณะกัลยาณมิตรนิเทศ ทั้งข้าพเจ้าและเพื่อนครู มีผลงานดีเด่นเพิ่มมากขึ้น ในระดับเขตการศึกษา ข้าพเจ้าเป็นครูแม่แบบการสอนอ่าน ผลิตวีดิทัศน์ดีเด่น มีผลงานวิจัยและทดลองกับนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน ข้าพเจ้ามีคุณสมบัติของผู้ได้รับ ศรัทธายกย่องเป็นที่ยอมรับของนักเรียน เพื่อนครูและชุมชน ว่าเป็นแบบอย่างของผู้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูและได้ทุ่มเทเสียสละ เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ ศิษย์ที่ได้เรียนกับข้าพเจ้ามีการพัฒนาสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าข้าพเจ้าได้การยอมรับจากบุคคล ดังกล่าวเป็นอย่างดี ข้าพเจ้ายังได้เผยแพร่ประวัติ และผลงานในงานเว็บไซด์ ครูไทยสื่อสังคมออนไลน์ การเผยแพร่ผลงานในเว็บไซต์ของโรงเรียน และเสียสละทรัพย์ส่วนตัวจัดร่วมถ่ายภาพ เขียนสารคดี วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับเรือไทยจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม ให้นักเรียนได้ฝึกอ่านและสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดของนักเรียนอีกด้วย เผยแพร่สื่อสารคดีที่ได้จัดทำผ่านยูทูป เรื่อง “ต้นกำเนิดแม่น้ำชี” มีผู้สนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้จำนวนมาก
๖. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้
เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้ ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรแนะนำแนวคิดในการใช้สื่อรูปแบบใหม่ๆ พัฒนาการอ่าน เป็นผู้นำในด้านไอซีทีโรงเรียนในฝันใช้รูปแบบการสอนประยุกต์โดยใช้หลักไตรสิกขาเป็นฐาน เป็นครูภาษาไทยประกายเพชรที่เป็นต้นแบบของครูผู้มีแนวความคิดแปลกใหม่ใน
“โครงการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครูภาษาไทยประกายเพชร”
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ตามรอยพระยุคลบาท “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ (มีการบันทึกเทปไปเผยแพร่ในสื่อ ยูทูป)
๗. ผลที่เกิดจากการนำผลงานรางวัลบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ไปใช้
จากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุมานะ มุ่งมั่น อุตสาหะ อุทิศตน เสียสละและอดทน รวมทั้งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการปฏิบัติตน และด้านการปฏิบัติงาน จนสามามารถได้รับการคัดเลือกให้เป็นได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นผู้ทำประโยชน์ ทางด้านการศึกษา อุทิศตน เสียสละ อดทน ในการปฏิบัติหน้าที่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน จากผลงานดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้าได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ มอบรางวัลเกียรติยศต่างๆ ดังนี้
๒๕๔๘ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เข็มเชิดชูเกียรติ จาก มูลนิธิเพชรภาษาเป็น “ครูภาษาไทยประกายเพชร” ได้รับการเสนอให้เป็นผู้บรรยายนำเสนอผลงานวิจัยและ เผยแพร่ สื่อ นวัตกรรม กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา แก่ครูภาษาไทยที่ร่วม สัมมนาจากทั่วประเทศ
๒๕๔๙ ได้รับรางวัล “ครูรักการอ่านยอดเยี่ยม” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่ความรู้ทางอินเทอร์เน็ต ใน “โครงการเครือข่ายเยาวชนสร้างเสริมคุณธรรมนำปัญญาจากการอ่าน”
๒๕๕๒ ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒จากคุรุสภา มีผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้เด่นชัดที่สุด เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน และเป็นผลของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ วิชาชีพครูอย่างสูง เป็นครูภาษาไทยที่มีนวัตกรรม มุ่งมั่นทุ่มเทเป็นผู้นำและสั่งสอนศิษย์ให้ใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ร่วมอนุรักษ์และดำรง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ใฝ่รู้รักการอ่าน เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสาน สืบทอด เอกลักษณ์ของชาติด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู
๒๕๕๔ ครูดีเด่น อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๕๕๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติสดุดี
"หนึ่งแสนครูดี" ตามรอย.... พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน"
๒๕๕๕ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น "เกียรติภูมิครุ จุฬาฯ"
จากสมาคมครุศาสตรสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๕๗ ได้รับเกียรติบัตรยกย่องในการนำเสนอรูปแบบการสอนโดยใช้หลักไตรสิกขา
เป็นฐาน ใน “โครงการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนของครูภาษาไทยประกายเพชร”
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ตามรอยพระยุคลบาท “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
๒๕๕๙ เกียรติบัตร ยกย่องเชิดชูเกียรติในความรู้ความสามารถในเชิง ภาษาไทย เป็น
ผู้ประพันธ์ คำขวัญวันครู “ยอดเยี่ยม” ของสถานศึกษา เนื่องในวันครูแห่งชาติ
(ครั้งที่ ๖๐) ประจำปี ๒๕๕๙
๘. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
แนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่จำนำสื่อออนไลน์จากเว็บไซด์ที่ข้าพเจ้าจัดทำและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน คือ
www.kruthai40.com www.youtube.com/kruthai
นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา นวัตกรรม “การสอนอ่านเพื่อชีวิตและสังคม” โดยใช้สื่อประกอบออนไลน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในอนาคต ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องพัฒนาต่อยอดจากการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙
ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ ให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ จัดการเรียนการสอนด้วยระบบคุณธรรม รักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยหลักการและเหตุผล ให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อสถานศึกษา ดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์กร อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
© 2023 Created by Surin yingneuk.
Powered by